The Typology of Planning

The Typology of Planning: ประเภทของการวางแผน ในการวางแผนนั้นมีประเภทของการวางแผนหลายประเภทซึ่งมีผลต่อการออกแบบที่เหมาะสม โดยสามารถจำแนกประเภทสำคัญของการวางแผนซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้ 1. การจำแนกแผนตามระยะเวลา ซึ่งนิยมแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้  1.1 แผนระยะสั้น (Short–Range Planning) คือ แผนที่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานที่ใช้เวลาน้อยกว่า 1 ปี แผนระยะสั้นจะเป็นแผนที่มีการกำหนดรายละเอียดของงานหรือกิจกรรมไว้อย่างละเอียด เกี่ยวกับเวลาที่จะต้องใช้ในการดำเนินงาน ได้แก่ เวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุด  จำนวนคน จำนวนงบประมาณ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องมีการจัดลำดับในการดำเนินกิจกรรมว่าจะดำเนินกิจกรรมใดก่อน-หลัง…

Continue ReadingThe Typology of Planning

The Dimension of Planning

The Dimension of Planning: มิติของการวางแผน การวางแผนมีหลายมิติที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งหากสามารถพิจารณาได้ครอบคลุมในมิติต่างๆได้มากก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นการวางแผนที่มีความรอบคอบได้มากขึ้น โดยมิติของการวางแผนที่สำคัญนั้นสามารถพิจารณาในมิติที่สำคัญได้ ดังนี้ 1. มิติด้านการมุ่งสู่เป้าหมาย (Purposive) กล่าวคือ แผนและการวางแผนจะต้องแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายเป็นเครื่องกระตุ้นให้เกิดการกระทำขึ้น (Goals Stimulus Action) วัตถุประสงค์จะต้องแสดงให้เห็นทั้งในลักษณะคุณภาพ (Qualitative) และลักษณะเชิงปริมาณ (Quantitative) นอกจากนี้จะต้องเรียงลำดับความสำคัญของวัตถุประสงค์ไว้ด้วย 2. มิติด้านการมุ่งให้เกิดการกระทำ (Action Oriented) เนื่องจากการวางแผนไม่ใช่เป็นสภาพที่หยุดนิ่งหรือเป็นเพียงจุดหมายปลายทางเท่านั้น แต่จะต้องเกี่ยวข้องกับการกระทำหรือต้องนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุจุดหมาย วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดขึ้นโดยปราศจากแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลเป็นเพียงการคาดการณ์หรือการคาดหวัง…

Continue ReadingThe Dimension of Planning

The Element of Planning

The Element of Planning: องค์ประกอบของการวางแผน การวางแผนมีองค์ประกอบหลายประการด้วยกัน โดยหากมีองค์ประกอบต่างๆครบถ้วนได้มากเพียงใดก็สามารถที่จะนำไปสู่การวางแผนที่ดีได้มากขึ้น ซึ่งการวางแผนที่ดีนั้นควรมีองค์ประกอบตามลักษณะที่สำคัญ ซึ่งสามารถพิจารณาได้ ดังนี้ 1. การวางแผนเป็นกระบวนการ (Process) การวางแผนเป็นกิจกรรมต่อเนื่องที่จะต้องกระทำติดต่อกันไปเป็นระยะๆ โดยไม่ให้ขาดตอนหรือหยุดนิ่ง ทั้งนี้ เพราะแผนจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ การเป็นกระบวนการ ยังมีความหมายถึงการผสมผสานกันอย่างได้สัดส่วนขององค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นปัจจัยนำเข้าของระบบซึ่งได้แก่ทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งพลังงานที่ช่วยให้ทรัพยากรนำเข้าดังกล่าวจัดรูปความสัมพันธ์และเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้บรรลุเป้าหมายต่อไป 2. การตระเตรียม (Preparing) การตระเตรียมเป็นการเตรียมข้อมูล บุคลากร ตลอดจนทรัพยากรต่างๆ สำหรับการวางแผน…

Continue ReadingThe Element of Planning