Ethics for Entrepreneurs Part 5

จริยศาสตร์คุณธรรม (Virtue Ethics)             การตัดสินใจตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คุณธรรม” นั้น ผู้ประกอบการจะตัดสินใจโดยตระหนักถึงคุณธรรม ความเข้าใจและการดำเนินชีวิตที่ดี ซึ่งคุณธรรมนั้นเป็นลักษณะนิสัยที่ยอดเยี่ยมและคงทน เป็นการกระทำที่ผ่านการไตร่ตรอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการนั้นได้รับการยอมรับและเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ ตัวอย่างคุณธรรมที่อริสโตเติลได้กล่าวไว้ เช่น ความกล้าหาญ ความเมตตากรุณา ความเอื้ออาทร และความยับยั้งชั่งใจ  อย่างไรก็ตามบุคคลแต่ละคนไม่ได้เกิดมาพร้อมคุณธรรม แต่คุณธรรมเป็นสิ่งที่บุคคลสามารถพัฒนาได้จากการฝึกฝน ประสบการณ์ และภูมิปัญญา เพื่อให้เห็นภาพได้ชัด ลองนึกภาพคนที่โดยธรรมชาติแล้วค่อนข้างอารมณ์ร้อน นั่นหมายความว่า เมื่อมีสถานการณ์ใดมากระทบ คนผู้นั้นจะตอบสนองทันทีด้วยความรุนแรง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ และสุดท้ายคนผู้นั้นต้องมารู้สีกเสียใจในภายหลัง เมื่อคนผู้นั้นพบเจอเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้บ่อยๆ…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 5

Ethics for Entrepreneurs Part 4

จริยศาสตร์คานต์ (Kantian ethics) (ต่อ) ตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คานต์” นั้น เป็นไปตามกฎคำสั่งแบบเด็ดขาด (Categorical Imperative: CI) กฎนี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือวิธี CI A และ วิธี CI B ซึ่งวิธี CI A นี้ได้กล่าวไปแล้วใน Ethics for Entrepreneurs Part 3…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 4

Ethics for Entrepreneurs Part 3

จริยศาสตร์คานต์ (Kantian ethics)             จากแนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” นั้น จะมุ่งเน้นไปที่ผลของการกระทำ โดยไม่คำนึงถึงแรงจูงใจ เช่น การที่เด็กอายุ 2 ขวบนำถ้วยกาแฟมาให้แม่แล้วทำถ้วยตกแตก ถ้าเป็นการตัดสินใจจากแนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” จะพบว่า เด็กมีความผิด แต่ในความเป็นจริงเด็กอายุ 2 ขวบมีเจตนาดีที่จะช่วยแม่ แต่เนื่องจากเป็นเด็กอายุเพียง 2 ขวบ การถือถ้วยกาแฟที่ร้อนอาจเป็นเรื่องที่ยากเกินไปจนนำไปสู่การกระทำที่เป็นความผิดขึ้น ดังนั้นในบางแง่มุมของแนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” จึงขัดต่อความรู้สึก เพราะการกระทำเดียวกันในบางสถานการณ์หนึ่งอาจถูก แต่ถ้าอยู่ในอีกสถานการณ์หนึ่งกลับผิดได้ เพราะ…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 3