การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน

การกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน การกำหนดมาตรฐานผลการปฏิบัติงาน หมายถึง การกำหนดมาตรฐานเพื่อวัดระดับผลการปฏิบัติงานตามความคาดหวังขององค์การ โดยพิจารณาจากเป้าหมายขององค์การ มาตรฐานการปฏิบัติงานในอดีตหรือการเปรียบเทียบกับองค์การอื่น  ซึ่งโดยส่วนใหญ่องค์การต่างๆกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานในลักษณะตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานหลัก (Key Performance Indicators-KPIs) โดยตัวชี้วัด หมายถึง หน่วยวัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานที่กำหนดขึ้นเป็นหน่วยวัดความสำเร็จตามผลสัมฤทธิ์หลัก การกำหนดตัวชี้วัดควรมีลักษณะ 6 ประการ ดังนี้ ประการที่ 1 ความเจาะจง คือ ตัวชี้วัดควรเจาะจงและแสดงให้เห็นว่าควรทำอะไร และผลลัพธ์ที่องค์การต้องการคืออะไร เช่น ร้อยละของการจัดส่งเอกสารตรงตามกำหนดเวลา เป็นตัวชี้วัดที่มีความเจาะจง เนื่องจากบุคลากรสามารถเข้าใจได้ว่าถ้าจะบรรลุตัวชี้วัดดังกล่าวต้องให้ความสำคัญกับการจัดส่งเอกสารตรงตามกำหนดเวลา เป็นต้น ประการที่ 2…

Continue Readingการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน

การบูรณาการในองค์การ

เนื่องจากการบูรณาการในองค์การเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างบุคคล กลุ่ม  ทีม หน่วยงาน เพื่อจุดมุ่งหมายบางอย่างร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ การบูรณาการในองค์การจึงมีบทบาทสำคัญใน การบริหารองค์การ ดังนี้ การบูรณาการในองค์การทำให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะเป้าหมายระดับองค์การที่ควรมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหลายฝ่าย ตัวอย่างเช่น เป้าหมายด้านทรัพยากรบุคคลขององค์การจำเป็นต้องมีการบูรณาการงานระหว่างฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลและฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคล หากฝ่ายพัฒนาทรัพยากรบุคคลทราบว่าฝ่ายสรรหาทรัพยากรบุคคลจะสรรหาบุคลากรในแต่ละปีจำนวนเท่าใด ก็จะสามารถวางแผนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น นอกจากนี้ ในแต่ละส่วนงานมีการกำหนดเป้าหมาย การทำงานย่อยๆลงไปอีก ดังนั้น จึงควรบูรณาการเป้าหมายเพื่อการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายภาพรวมและเป้าหมายย่อย เช่น ฝ่ายขายมีเป้าหมาย คือ การเพิ่มยอดขาย ในขณะที่ฝ่ายบริการมีเป้าหมาย  คือ การเพิ่มคุณภาพบริการ ดังนั้น ต้องบูรณาการงานกันเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายทั้งสองด้าน…

Continue Readingการบูรณาการในองค์การ

เทคโนโลยีเพื่อการประสานงาน

การบริหารองค์การต่างๆสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประสานงานระหว่างองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ (จรัส อติวิทยาภรณ์, 2553 : 7) ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้  ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศจึงประกอบขึ้นด้วยระบบจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ระบบสื่อสารโทรคมนาคม และอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสารสนเทศที่มีการวางแผน จัดการ และใช้งานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ  (ไพบูลย์ เกียรติโกมล, 2551 : 13)  ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการประสานงาน กรณีห้องสมุดในประเทศไทยซึ่งมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้ในงานห้องสมุดและพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติ…

Continue Readingเทคโนโลยีเพื่อการประสานงาน