ความสูญเปล่าในระบบการผลิตแบบลีน EP.3

การมีสินค้าคงคลังมากเกินไป (Excess inventory) คือ การเก็บรักษาวัตถุดิบ งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปที่มากเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับเวลานำในการผลิตที่ยาวขึ้น การล้าสมัยและการเสียหายของวัตถุดิบและสินค้า ต้นทุนการขนส่งและการเก็บรักษา และความล่าช้าในการผลิต นอกจากนี้การมีสินค้าคงคลังมากเกินไปยังทำให้ปัญหาในการผลิตถูกซ่อนเร้น เช่น ความไม่แน่นอนของปริมาณการผลิต ความล่าช้าในการขนส่งจากผู้ค้า ของเสีย การเสียของเครื่องจักร และเวลาตั้งเครื่องที่ยาวนาน ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักจะยังไม่ค้นพบทันทีตราบเท่าที่ยังมีสินค้าคงคลังเพียงพอในการทำให้การผลิตมีความต่อเนื่อง ดังนั้นจึงทำให้ผู้ผลิตไม่ทราบถึงปัญหาที่แท้จริงอันเนื่องจากถูกสินค้าคงคลังที่มากเกินไปซ่อนเร้นปัญหาอยู่ ซึ่งอาจจะทราบถึงปัญหาเมื่อปัญหารุนแรงจนไม่อาจแก้ไขได้ ตัวอย่างในโรงงานที่มีการจัดตารางการผลิตโดยระบบการวางแผนความต้องการวัสดุ (Material Requirement Planning: MRP) ที่มีการจัดตารางการผลิตไว้ล่วงหน้าโดยการพยากรณ์การผลิตแต่ไม่ได้คำนึงถึงความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าหรือกระบวนการถัดไป หรือที่เรียกว่า “ระบบผลัก…

Continue Readingความสูญเปล่าในระบบการผลิตแบบลีน EP.3

ความสูญเปล่าในระบบการผลิตแบบลีน EP.2

ความสูญเปล่าแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิด ได้แก่ การผลิตเกินความจำเป็น การมีสินค้าคงคลังมากเกินไป การรอคอย การขนถ่ายที่ไม่จำเป็น การมีกระบวนการมากเกินไป การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น การมีของเสีย และการขาดการเชื่อมต่อของความรู้ การผลิตเกินความจำเป็น (Overproduction) คือ การผลิตสินค้าหรือชิ้นงานโดยที่ไม่มีคำสั่งซื้อหรือสั่งผลิตจากลูกค้าหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การผลิตเกินความจำเป็นหมายถึงการผลิตก่อนเวลาที่ต้องการ และการผลิตมากกว่าที่ลูกค้าต้องการ สถานประกอบการส่วนใหญ่มักมีความสูญเปล่าของการผลิตเกินความจำเป็นเป็นปัญหาหลัก อันเนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การมีคนงานและอุปกรณ์การผลิตมากเกินไปรวมถึงมีการผลิตแบบจำนวนมากทำให้มีบางกระบวนการที่ผลิตได้มากจนต้องมีสินค้าระหว่างทำกองอยู่เพื่อรอเข้ากระบวนการถัดไป การมีเครื่องจักรที่มีกำลังการผลิตสูงทำให้กิจการพยายามใช้ให้คุ้มโดยการผลิตจำนวนมากเกินความต้องการ ฯลฯ การผลิตเกินความจำเป็นจะทำให้เกิดความสูญเปล่าในด้านต่างๆ ตามมา เช่น การเคลื่อนไหวของคนงานที่ใช้ในการผลิตสิ่งที่ไม่มีคำสั่งซื้อ การรอคอยจากการผลิตสินค้าที่มีขนาดรุ่น (batch)…

Continue Readingความสูญเปล่าในระบบการผลิตแบบลีน EP.2

ความสูญเปล่าในระบบการผลิตแบบลีน EP.1

การผลิตแบบลีนเน้นการผลิตตามความต้องการของลูกค้า โดยจะทำการผลิตเมื่อลูกค้ามีความต้องการแล้วเท่านั้น จะไม่ผลิตเพื่อรอขายแต่จะผลิตเมื่อมีคำสั่งซื้อจากลูกค้า เนื่องจากแนวคิดของลีนคือจะผลิตสินค้าที่ “ขายได้” ไม่ใช่ผลิตสินค้าที่ “คาดว่าจะขายได้” ดังนั้นกิจกรรมทางการผลิตใดๆ ก็ตามที่ไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าหรือไม่มีคุณค่าต่อลูกค้านั้น จึงนับว่าเป็นความสูญเปล่าทางการผลิตทั้งสิ้น ความสูญเปล่า (Waste) หรือในคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า มุดะ (Muda) หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ไม่ได้สร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า หรือกิจกรรมใดก็ตามที่ใช้ทรัพยากรขององค์การ ได้แก่ แรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ เงิน และอื่นๆ โดยไม่ได้สร้างคุณค่าให้สินค้าหรือบริการ ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า ความสูญเปล่าคือกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า (Non Value-added…

Continue Readingความสูญเปล่าในระบบการผลิตแบบลีน EP.1