โครงสร้างตลาดการเงินไทย พ.ศ.2566

เดิมเมื่อกล่าวถึงการออมการลงทุนของภาคครัวเรือนส่วนมากจะนึกถึงธนาคารพาณิชย์ เช่นเดียวกับภาคธุรกิจเมื่อต้องการเงินทุนเพื่อใช้ในการดำเนินกิจการก็จะนึกถึงเงินกู้ประเภทต่างๆจากธนาคารพาณิชย์ แต่ในปัจจุบันสัดส่วนของเงินทุนในภาคธนาคารลดลงเหลือเพียงประมาณหนึ่งในสามเท่านั้น โดยในปี พ.ศ.2566 มีสินเชื่อจากธนาคารทั้งหมดรวมประมาณ 18.3 ล้านล้านบาท ในขณะที่มูลค่ารวมของตลาดตราสารทุนอยู่ที่ประมาณ 17.0 ล้านล้านบาท และตลาดตราสารหนี้มีมูลค่าคงค้างประมาณ 16.5 ล้านล้านบาท จะเห็นได้ว่าระบบธนาคารยังคงมีบทบาทมากที่สุดในโครงสร้างตลาดการเงินไทย แต่เริ่มที่จะมีขนาดใกล้เคียงกับตลาดตราสารทุนและตลาดตราสารหนี้ และแนวโน้มในอนาคตธนาคารจะมีบทบาทลดลง ในขณะที่ตลาดตราสารทุน และตลาดตราสารหนี้ยังมีแนวโน้มจะเติบโตได้อีก เอกสารอ้างอิง สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย. (2567). ตลาดตราสารหนี้ไทย ปี 2023. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2567 จาก:…

Continue Readingโครงสร้างตลาดการเงินไทย พ.ศ.2566

ทำไมความเสี่ยงจากการลงทุนสูงจึงต้องให้ผลตอบแทนสูง

ในยุคก่อนถ้าคนมีเงินเหลือเก็บออมมักจะนำไปฝากธนาคารเนื่องจากไม่มีทางเลือกมากนักในการเก็บออมเงินที่มีอยู่ คนจึงคุ้นเคยกับการเก็บออมเงินโดยฝากธนาคารซึ่งเป็นการลงทุนแบบพื้นฐานที่สุด ซึ่งมีอัตราผลตอบแทนต่ำและมีความเสี่ยงต่ำด้วยเช่นกัน ในยุคก่อนถือว่าการฝากเงินกับธนาคารไม่มีความเสี่ยง เพราะอย่างไรเสียก็ได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ แต่เมื่อเกิดวิกฤตสถาบันการเงินในปี พ.ศ.2540 จนมีสถาบันการเงินจำนวนมากต้องปิดกิจการลง ทำให้ภาครัฐมองหาแนวทางในการช่วยลดภาระในการช่วยเหลือคุ้มครองเงินฝากให้แก่ประชาชน จึงมีการจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากขึ้นซึ่งทำให้การฝากเงินกับธนาคารได้รับการคุ้มครองในวงเงินจำกัด ซึ่งปัจจุบันสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้คุ้มครองเงินฝากที่ฝากธนาคารไว้บัญชีละ 1,000,000 บาท ทำให้ผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารหลักหลายล้านบาทเริ่มรู้สึกว่าการฝากเงินกับธนาคารไม่ปลอดภัยเหมือนเดิม นั่นคือการฝากเงินกับธนาคารก็มีความเสี่ยงเกิดขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามถือว่าการฝากเงินกับธนาคารมีความเสี่ยงต่ำมาก ดังนั้นอัตราผลตอบแทนจากการฝากเงินก็ต่ำด้วยเช่นกัน เนื่องจากผู้ฝากเงินกลัวความเสี่ยงจึงยอมฝากเงินกับธนาคารแล้วยอมรับอัตราผลตอบแทนที่ต่ำโดยรู้สึกมั่นใจว่าเงินที่ฝากไว้ปลอดภัย แต่สำหรับคนที่คาดหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารก็จะมองหาช่องทางอื่นในการลงทุน เช่น กองทุนรวม หุ้นกู้  หุ้นสามัญ และอนุพันธ์ เป็นต้น สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงมากขึ้นก็จะให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนมากขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง และสินทรัพย์ที่ยิ่งมีความเสี่ยงมากเท่าไรก็ต้องให้ผลตอบแทนมากยิ่งขึ้นเพื่อจูงใจให้ผู้ลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนสูงและมีความกล้าเสี่ยงมาลงทุน เช่น หุ้นกู้มีความเสี่ยงมากกว่าเงินฝากธนาคาร หุ้นกู้ต้องให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคาร…

Continue Readingทำไมความเสี่ยงจากการลงทุนสูงจึงต้องให้ผลตอบแทนสูง

ลงทุนในทองคำ

ทองคำเป็นโลหะมีค่าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ทั้งการลงทุนและการนำมาใช้เพื่อประกอบเป็นเครื่องประดับต่างๆ ทองคำเป็นวัตถุมีค่าที่ใช้สะสมความมั่งคั่งที่มนุษย์ยอมรับมายาวนานกว่าหนึ่งพันปี และปัจจุบันผู้คนก็ยังนิยมลงทุนในทองคำ โดยเชื่อว่าทองคำจะมีมูลค่าที่ค่อนข้างเสถียรมากกว่าสินทรัพย์อื่นๆในยามเกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ รวมทั้งในระยะยาวราคาทองคำก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด                 การลงทุนในทองคำให้อัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูง ในช่วงเวลาต้นปี พ.ศ.2514 จนถึงปลายปี พ.ศ.2565 รวมประมาณ 52 ปี ทองคำให้อัตราผลตอบแทนในการลงทุนเฉลี่ย 7.78%ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีค่าเฉลี่ย 3.70%ต่อปี นอกจากนี้ในช่วงของวิกฤตเศรษฐกิจต่างๆทั่วโลกที่เกิดขึ้นการลงทุนในทองคำยังคงให้อัตราผลตอบแทนเป็นบวก ในขณะที่การลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเป็นค่าลบ (ฐิติเมธ โภคชัย, 2566)                  ทองคำเป็นสินทรัพย์ที่มีตัวตนที่มีสถาพคล่องสูงให้อัตราผลตอบแทนค่อนข้างสูง ในระยะสั้นจะมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาทองคำได้ แต่ในระยะยาวราคาทองคำมีแนวโน้มการเติบโตมาโดยตลอด ทองคำยังได้รับความเชื่อมั่นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือตกต่ำ แต่ข้อจำกัดของทองคำคือเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูงมีโอกาสจะถูกโจรกรรมได้ง่ายกว่าสินทรัพย์ลงทุนอื่นๆ…

Continue Readingลงทุนในทองคำ