การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ตอนที่ 5

การเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจมีหลายระดับ ในบางครั้งอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว ส่งผลต่อการเปลี่ยนพื้นฐานของสังคมไปอย่างสิ้นเชิง เช่น เกิดการปฏิวัติเครื่องจักรไอน้ำมาใช้นํ้ามัน หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านการโทรคมนาคมที่ส่งผลทําให้ระบบโทรเลขและเพจเจอร์หายไป ซึ่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมมีรายละเอียดดังนี้ กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมคือ การเปลี่ยนแปลงทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรอื่นให้นำไปสู่ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ในกรณีที่ทรัพยากรมีความพร้อมในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นความสามารถ การมีทัศนคติที่ดี ความเฉียบคมทางสติปัญญา รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดี องค์การที่เอื้ออำนวย การพัฒนาและทำใหม่อยู่เสมอ และการเงินพร้อมสนับสนุน ดังนั้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดนวัตกรรมก็คือ การคิด (Thinking) และการสร้างวิสัยทัศน์ (Vision) นั่นเอง การจะให้ทรัพยากรมนุษย์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ พื้นฐานที่สำคัญอยู่ที่การสร้างนักคิด (Thinker) ให้เกิดขึ้น การคิดเพื่อสร้างผลกำไรในอนาคตจะต้องสอดคล้องต่อกลยุทธ์ขององค์การ ดังนี้…

Continue Readingการจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ตอนที่ 5

การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ตอนที่ 4

เมื่อรู้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมทำให้ทราบถึงความท้าทายในการจัดการ เนื่องจากการบริหารในอนาคตจะมีความแตกต่างจากในปัจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านการควบคุม โครงสร้างองค์การ อำนาจ และทฤษฎีในการจัดการจะเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารระดับกลางจะมีบทบาทน้อยลง จะต้องเรียนรู้ในการทำงานกับผู้ปฏิบัติงานที่ไม่มีผู้ควบคุมโดยตรง โดยสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล ผู้บริหารระดับสูงจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ และความสัมพันธ์กับลูกน้อง ผู้บริหารระดับสูงจะได้รับผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงทิศทางการทำงานขององค์การ ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์การเพราะว่ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร และมีการเปลี่ยนแปลงด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับองค์การ คุณสมบัติที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูงในอนาคตคือ ต้องมีทักษะทั้งในด้านการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและโอกาสได้ มีความสามารถในด้านมนุษยสัมพันธ์และการตัดสินใจ ซึ่งผู้บริหารระดับสูงจะมีวิธีรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมดังนี้ 1) ทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลง (Change) การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาจากการแข่งขันที่ไร้พรมแดน และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดังที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า โลกกำลังอยู่ในยุคของเทคโนโลยี และข่าวสาร ความรู้ (Knowledge)…

Continue Readingการจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ตอนที่ 4

การจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ตอนที่ 3

เมื่อทราบขั้นตอนการรู้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมแล้ว วิธีการรู้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ วิธีการรู้ทิศทางการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้ (Vijay Kumar, 2013, pp.22-49)           1) คำเล่าลือแบบปากต่อปาก (Buzz Reports) เป็นการรวบรวมและแบ่งปันข้อมูลที่เป็น “คำเล่าลือ” ที่ผู้คนกำลังสนใจจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย ทำให้ได้ข้อมูลล่าสุด ข้อมูลจากคำเล่าลือเป็นแหล่งข้อมูลที่ดีในการหาแรงบันดาลใจเพื่อสร้างนวัตกรรม การหาข้อมูลจากคำเล่าลือมีขั้นตอนตามภาพที่ 7.2 ดังนี้           - จัดสรรเวลาเพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงล่าสุดอย่างสม่ำเสมอ           - มองหาคำเล่าลือที่เป็นปัจจุบันและได้รับความสนใจจากแหล่งข้อมูลต่างๆ           - รวบรวมและแบ่งปันคำเล่าลือที่ค้นพบ          …

Continue Readingการจัดการการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรม ตอนที่ 3