การประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (5)

จากโพสต์ความรู้เรื่องการประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (1) - (4) ซึ่งอธิบายหลักการของการประมาณกระแสเงินสดในส่วนต่างๆ แล้ว สำหรับในโพสต์นี้จะยกตัวอย่างการคำนวณเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังนี้ บริษัทสามศร จำกัด กำลังพิจารณาตัดสินใจซื้อเครื่องจักรใหม่เพื่อทดแทนเครื่องจักรเก่า โดยมีรายละเอียดโครงการดังนี้          1. เครื่องจักรเก่า มีราคาตามบัญชี 100,000 บาท อายุการใช้งานคงเหลืออีก 5 ปี หากบริษัทตัดสินใจซื้อเครื่องจักรใหม่ จะสามารถนำไปขายได้ในราคา 120,000 บาท          2. ราคาของเครื่องจักรใหม่คือ 300,000 บาท…

Continue Readingการประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (5)

การประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (4)

กระแสเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ (Terminal Value: T) หมายถึง กระแสเงินสดที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่กิจการตัดสินใจลงทุน โดยมี 2 ส่วนที่สำคัญคือ          1. เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ดังที่ได้อธิบายไว้ในหัวข้อกระแสเงินสดจ่ายลงทุนเริ่มแรกว่าเมื่อโครงการสิ้นสุดลง กิจการก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดำรง (ถือ) เงินทุนหมุนเวียนสุทธิต่อไป เงินทุนหมุนเวียนสุทธิดังกล่าวก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นเงินสดเมื่อสิ้นสุดโครงการ          2. มูลค่าคงเหลือ (ราคาซาก) ของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่กิจการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนบางประเภทเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งานแล้ว สามารถนำไปขายเป็นเศษซาก ทำให้กิจการได้รับกระแสเงินสดจากราคาซากดังกล่าว สำหรับการคำนวณกระแสเงินสดจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่กิจการลงทุนมีวิธีการเช่นเดียวกับการคำนวณกระแสเงินสดจากการขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเก่า

Continue Readingการประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (4)

การประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (3)

         กระแสเงินสดสุทธิระหว่างดำเนินโครงการ (Net Cash Flow from Operating: NCFt) หมายถึง ผลประโยชน์ที่กิจการได้รับสุทธิจากการตัดสินใจลงทุนในโครงการนั้น ทั้งนี้ ผลประโยชน์ดังกล่าวอาจอยู่ในลักษณะดังต่อไปนี้          1. รายได้ที่เพิ่มขึ้น เช่น กิจการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ แล้วทำให้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น จนสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้สูงขึ้น เป็นต้น          2. ค่าใช้จ่ายที่ลดลง เช่น กิจการลงทุนในอุปกรณ์ขนย้ายชิ้นส่วนภายในโรงงาน ที่ทำให้สามารถประหยัดค่าแรงงานที่เคยทำหน้าที่ขนย้ายชิ้นส่วน หรือการลงทุนซื้อเครื่องปรับอากาศใหม่ ทำให้กิจการประหยัดค่าไฟฟ้าได้ เป็นต้น         …

Continue Readingการประมาณกระแสเงินสดที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน (3)