การจัดจำหน่ายในการตลาดร่วมสมัย ตอนที่ 2

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ปัจจุบันคุณค่าที่ลูกค้ากำหนดเป็นปัจจัยหลักสำคัญของการทำการตลาดร่วมสมัย ที่ธุรกิจต้องกำหนดเป็นเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ โดยธุรกิจต้องสามารถสร้างคุณค่าที่เหนือกว่าคู่แข่งขันเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จทางธุรกิจดังนั้น ผู้บริหารจะต้องกำหนดองค์ประกอบแต่ละตัวของส่วนประสมการตลาดให้สอดคล้องกันเพื่อสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าและสามารถบรรลุเป้าหมายของธุรกิจไปพร้อมกัน ซึ่งส่วนประสมการตลาดที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การจัดจำหน่าย (Distribution) โดยคุณค่าของลูกค้า (Customer value) หมายถึง การประเมินโดยรวมจากลูกค้าของธุรกิจเกี่ยวกับความคุ้มค่าของสินค้าหรือบริการ ที่อยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่จะได้รับและต้นทุนที่ต้องเสียไป คุณค่าของลูกค้าคือการรับรู้ว่าสินค้าหรือบริการใดมีค่าต่อลูกค้าเมื่อเทียบกับทางเลือกอื่น คุณค่าจึงเป็นการเปรียบเทียบเชิงปริมาณในด้านผลประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการ เศรษฐกิจ การบริการ และสังคมที่ลูกค้าได้รับ แลกกับราคาที่จ่ายสำหรับการเสนอขายตามตลาด ผลประโยชน์ที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้าแบ่งออกได้เป็นสองประเภท ได้แก่ ผลประโยชน์หลักและผลประโยชน์เพิ่มเติม โดยประโยชน์หลักคือความต้องการพื้นฐานที่ลูกค้าพึงพอใจเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดระดับคุณภาพและประสิทธิภาพ ตลอดจนความคาดหวังต่อสินค้าและบริการก่อนและหลังการขาย นั่นคือผลประโยชน์เพิ่มเติมคือคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการที่อยู่นอกเหนือประโยชน์หลัก ลูกค้าอาจใช้ผลประโยชน์เพิ่มเติมเหล่านี้ในการตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างและเหนือกว่า ส่วนในด้านต้นทุนสสำหรับลูกค้าแล้ว ต้นทุนรวมแบ่งออกเป็นสามประเภท…

Continue Readingการจัดจำหน่ายในการตลาดร่วมสมัย ตอนที่ 2

การจัดจำหน่ายในการตลาดร่วมสมัย ตอนที่ 1

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การตลาดร่วมสมัยประกอบด้วยการตลาดเชิงการซื้อขาย (Transaction marketing) และการตลาดสายสัมพันธ์ (Relationship marketing) โดยการตลาดเชิงการซื้อขาย แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ รูปแบบแรกคือการตลาดเชิงการซื้อขายดั้งเดิม (Traditional transaction marketing) ที่เป็นการตลาดที่เกี่ยวกับการซื้อสินค้าและบริการ เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต โดยเศรษฐทรัพย์เป็นสิ่งที่ได้จากการนำปัจจัยการผลิตและแปลงสภาพให้เป็นสินค้าหรือบริการ และการตลาดฐานข้อมูล (Database marketing) ที่มีสภาพตลาดของการซื้อสินค้าและบริการควบคู่กับการจัดทำสารสนเทศทางการตลาด จากการศึกษายังพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลถึงความสำเร็จทางการตลาด คือ วิธีการที่นักการตลาดนำเสนอผลิตภัณฑ์ของตนไปยังผู้บริโภคตลอดจนวิธีการและกระบวนการที่นักการตลาดขายสินค้าให้กับลูกค้า รูปแบบที่สองคือการตลาดสายสัมพันธ์ แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ (1)…

Continue Readingการจัดจำหน่ายในการตลาดร่วมสมัย ตอนที่ 1

The Importance of Planning

The Importance of Planning: ความสำคัญของการวางแผน การวางแผนมีเพื่อลดความไม่แน่นอนลงหรือลดความเสี่ยงของสถานการณ์ให้เหลือน้อยที่สุด หากสถานการณ์ต่างๆ ในโลกมีความแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องมีการวางแผน อยากจะทำอะไรก็ได้และก็ประสบผลสำเร็จตามความต้องการนั้น แต่เพราะสถานการณ์ต่างๆ ไม่มีความแน่นอนหรือมีความเสี่ยงจึงต้องมีการวางแผน ด้วยเหตุนี้ ความสำคัญของการวางแผนอาจพิจารณาได้ใน 3 ระดับ ดังนี้ 1. ความสำคัญในระดับชาติและสังคม สังคมและประเทศชาติโดยรวมจำเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดระเบียบกิจกรรมในสังคม ทั้งนี้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในประเทศให้สนองความต้องการแก่สังคมอย่างถ้วนหน้าและเป็นธรรม การวางแผนที่ดีจะช่วยทำให้บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของคนในสังคมลงได้ ลักษณะของแผนในระดับชาติ  เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนที่กำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ เพื่อระบุถึงเป้าหมายที่ประเทศต้องการมุ่งไปให้ถึง 2. ความสำคัญระดับองค์การ ทุกองค์การมุ่งหวังที่จะอยู่ให้รอดและสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองไปตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก…

Continue ReadingThe Importance of Planning