การยกระดับศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนของจังหวัดชุมพรในยุคปกติใหม่และวิถีใหม่ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริง

การยกระดับศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนของจังหวัดชุมพรในยุคปกติใหม่และวิถีใหม่ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริงการวิจัย เรื่องการยกระดับศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนของจังหวัดชุมพรในยุคปกติใหม่และวิถีใหม่ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริงซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาในเวลาเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้การตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนในยุคปกติใหม่และวิถีใหม่ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริง อันจะทำให้บุคลากรในชุมชนได้ทราบ และเข้าใจในหลักการ แนวทางการจัดการตลาดท่องเที่ยวนำไปสู่การยกระดับตามมาตรฐานความปลอดภัยของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชน และยังมีวัตถุประสงค์เชิงพัฒนาเพื่อเสนอรูปแบบการจัดการความรู้การตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนของจังหวัดชุมพรในยุคปกติใหม่และวิถีใหม่ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริง เพื่อให้บุคลากรในชุมชนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ฝึกทักษะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการและพัฒนาการตลาดท่องเที่ยวในยุควิถีใหม่ นำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว มุ่งเน้นการสื่อสารคุณค่าและภาพลักษณ์ผ่านตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนในจังหวัดชุมพรเพื่อให้เศรษฐกิจมีการเติบโตอย่างยั่งยืน

Continue Readingการยกระดับศักยภาพการตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนของจังหวัดชุมพรในยุคปกติใหม่และวิถีใหม่ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวเสมือนจริง

ความหมายของ “อาหารเพื่อสุขภาพ”

ความหมายของ “อาหารเพื่อสุขภาพ”ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร (2563) กำหนดความหมายของ “อาหารเพื่อสุขภาพ” คือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เมื่อบริโภคแล้วจะช่วยให้ร่างกายสามารถทำหน้าที่ทั้งในด้านการปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และสภาพการทำงานของร่างกาย ชะลอการเสื่อมโทรมของอวัยวะต่างๆ บำบัดหรือลดอาการของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย บางครั้งจึงเรียกว่า อาหารฟังก์ชัน (Functional Food)Hoppe et al. (2013) ให้ความหมายว่า อาหารเพื่อสุขภาพ คือ อาหารที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการ หาซื้อได้ง่าย มีลักษณะดึงดูดใจ และมีความปลอดภัย และมีผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคTalati et al. (2017)…

Continue Readingความหมายของ “อาหารเพื่อสุขภาพ”

การค้าแถบชายแดนไทย

การค้าแถบชายแดนไทย เป็นการค้าข้ามเขตแดนแบ่งแยกอาณาเขตชุมชนของประเทศที่มีกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมแตกต่างกัน โดยอาศัยเส้นทางเชื่อมโยงบริเวณช่องทางการค้า 5 ประเภท ได้แก่ ช่องทางการค้าแบบธรรมชาติ เป็นช่องทางที่ประชาชนใช้เดินทางผ่านเข้า ออกไปมาค้าขายกัน บางด่านถือเอาช่องทางธรรมชาติมาเป็นจุดผ่อนปรน และจุดผ่านแดนถาวร ช่องทางอนุมัติเฉพาะของศุลกากร ช่องทางนี้เป็นช่องที่อำนวยความสะดวกทางการค้าชายแดน ที่ทำให้ปริมาณการค้า และมูลค่าการค้าขายสูงขึ้น จุดผ่านแดนชั่วคราว เป็นช่องทางที่ขออนุมัติการนำเข้าสินค้าเฉพาะอย่างเมื่อเสร็จแล้วก็จะปิดช่องทางการนำเข้า จุดผ่อนปรนทางการค้า เป็นจุดที่มีการนัดหมายกันตามเวลาเพื่อทำการค้า เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดที่จะอนุมัติให้เปิด โดยคำเสนอของกรมศุลกากร ร่วมกับ ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง จะมีเวลาในการเปิด – ปิดเป็นเวลา จุดผ่านแดนถาวร เป็นจุดผ่านที่เป็นทางการถูกต้องตามหลักสากล…

Continue Readingการค้าแถบชายแดนไทย