สาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน

สาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุน สำหรับผู้ลงทุนสถาบัน พัฒนามาจากแนวคิดของหลักธรรมาภิบาลการลงทุน จนก่อให้เกิดหลักปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 7 ประการ ได้แก่ 1. การกำหนดนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุนที่ชัดเจน 2. มีการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเพียงพอเพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของลูกค้า 3. การตัดสินใจและติดตามบริษัทที่ลงทุนอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์ 4. การเพิ่มระดับในการติดตามบริษัทที่ลงทุนเมื่อเห็นว่าการติดตามในหลักปฏิบัติที่ 3 ไม่เพียงพอ 5. การเปิดเผยนโยบายการใช้สิทธิออกเสียง และ ผลการใช้สิทธิออกเสียง 6. ร่วมมือกับผู้ลงทุนอื่นตามความเหมาะสม 7. เปิดเผยนโยบายธรรมาภิบาลการลงทุน และปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวต่อลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ การปฏิบัติตามธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบันดังกล่าวนั้น เป็นไปด้วยโดยความสมัครใจ (Voluntary) เป็นการแสดงความผูกพันที่จะปฏิบัติตาม…

Continue Readingสาระสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน

แนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาองค์กรธุรกิจระหว่างประเทศ เริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในระยะยาวต่อประชากรในระดับโลก นอกเหนือจากการพิจารณาปัจจัยด้านผลตอบแทน และความเสี่ยงของกิจการที่ลงทุนแล้ว ยังมีการพิจารณาถึงปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม การกำกับดูแลกิจการที่ดีของกิจการต่างๆ ซึ่งในปัจจุบัน เริ่มมีแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลการลงทุน โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ลงทุนสถาบัน ซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารการลงทุน ซึ่งควรมีความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีการออกหลักปฏิบัติเพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลของผู้ลงทุนสถาบันในการบริหารจัดการลงทุน โดยเชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวจะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดีที่สุดของเจ้าของเงินทุน และต่อผู้ลงทุนสถาบันเองในระยะยาว ในส่วนของประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน (Investment Governance Code : I Code) เพื่อเป็นหลักปฏิบัติสำหรับการบริหารจัดการลงทุนของผู้ลงทุนสถาบัน ตามแนวทางสากล…

Continue Readingแนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลการลงทุนสำหรับผู้ลงทุนสถาบัน

Breakeven Inflation

ในสถานการณ์ที่ภาะเงินฟ้อมีผลต่อการออมและการลงทุน ผู้ออมและผู้ลงทุนจึงต้องมีการประมาณค่าเงินเฟ้อและผลกระทบของเงินเฟ้อที่จะเกิดขึ้นกับเงินออมหรือลงทุนในอนาคต การคาดการณ์เงินเฟ้ออาจทำได้โดยพิจารณาจากตราสารทางการเงินที่แปรผันตามเงินเฟ้อจะเป็นการคำนวณหาค่า Breakeven inflation หลักการของการคำนวณ Breakeven inflation มาจากหลักการที่ว่า นักลงทุนย่อมจะได้รับผลตอบแทนสุทธิเท่าๆ กันไม่ว่าจะลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อในรุ่นอายุเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาลรุ่นอายุ 10 ปีให้ผลตอบแทนที่ 2.50% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อรุ่นอายุ 10 ปี อยู่ที่ 0.5% สะท้อนว่า Breakeven inflation 10 ปี เท่ากับ 2% ซึ่งจะทำให้…

Continue ReadingBreakeven Inflation