ต้นทุนของสินค้าที่ซื้อมาจากต่างประเทศ

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สำหรับสินค้าที่ซื้อมาจากต่างประเทศ จะคำนวณต้นทุนซื้อรวมค่าประกันภัย ค่าขนส่ง ค่าอากรนำเข้า และค่าดำเนินการของบริษัทนำเข้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้ บริษัทพิชานัน จำกัด ซื้อกระเป๋าจากต่างประเทศมาเพื่อขาย  และมีเหลืออยู่ปลายงวดจำนวน 20 ใบ  โดยมีรายละเอียดที่เกี่ยวกับสินค้า ดังนี้ รายการจำนวนเงิน: บาทต่อหน่วยราคาซื้อ2,000ค่าประกันภัย20ค่าขนส่ง130ค่าอากรนำเข้า430ภาษีมูลค่าเพิ่ม180ค่าดำเนินการของบริษัทนำเข้า200ส่วนลดการค้า40ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้า (ระหว่างรอนำส่ง)10 การคำนวณต้นทุนต่อหน่วยของสินค้าดังกล่าวข้างต้น จะไม่นำภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมคำนวณเป็นต้นทุนของสินค้า เนื่องจากเป็นภาษีซื้อที่สามารถนำไปหักจากภาษีขายได้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้าไม่ถือเป็นต้นทุนของสินค้าคงเหลือ จึงไม่ต้องนำมาคำนวณ ผลการคำนวณต้นทุนต่อหน่วย จะเป็นดังนี้ รายการต้นทุนต่อหน่วย : บาทราคาซื้อ2,000บวก  ค่าประกันภัย+20         ค่าขนส่ง+130         ค่าอากรนำเข้า+430        …

Continue Readingต้นทุนของสินค้าที่ซื้อมาจากต่างประเทศ

ต้นทุนของสินค้าเหลือมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ต้นทุนสินค้าคงเหลือของกิจการจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างนั้น ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าเป็นสินค้าที่ซื้อมาหรือกิจการผลิดขึ้นเอง ถ้าเป็นสินค้าที่ซื้อมาและคงเหลืออยู่ในกิจการ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสินค้าสำเร็จรูป หรือวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตของกิจการ จะประกอบด้วย ต้นทุน 2 ส่วน ได้แก่ 1) ต้นทุนในการซื้อ และ 2) ต้นทุนอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเองจะต้องเพิ่มองค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งคือ ต้นทุนแปลงสภาพ ต้นทุนในการซื้อ (Costs of Purchase) ได้แก่ ราคาซื้อ ค่าขนส่ง ค่าขนถ่าย ค่าอากรขาเข้า และภาษีอื่นสุทธิจากจำนวนที่จะได้รับคืนในภายหลังจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี แต่ถ้าในการซื้อนั้นกิจการได้รับส่วนลดการค้า…

Continue Readingต้นทุนของสินค้าเหลือมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

การจัดจำหน่ายในการตลาดร่วมสมัย ตอนที่ 5

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในทางปฏิบัติ ธุรกิจอาจจำเป็นต้องใช้การจัดจำหน่ายแบบผสมผสานมากกว่าหนึ่งรูปแบบ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด เนื่องจากปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพในการจำหน่ายสินค้าที่มีความแตกต่างกัน ดังนั้น ในการออกแบบระบบการจัดจำหน่าย จึงจำเป็นต้องนำเอาปัจจัยสำคัญทั้งหมดมาประมวลผล เพื่อให้ได้มาซึ่งระบบการจัดจำหน่ายที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยปัจจัยสำคัญมีดังนี้ ความคาดหวังของลูกค้า ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ต้องนำมาใช้ในการตัดสินใจเพื่อออกแบบระบบการจัดจำหน่าย เพื่อมุ่งสู่คุณค่าต่อลูกค้า โดยทั่วไปลูกค้ามักคาดหวังสิ่งที่จะได้รับจากระบบการจัดจำหน่ายที่ดี 3 ประการ ได้แก่ สินค้าที่ได้รับมีความปลอดภัย ใช้เวลาในการส่งมอบสินค้าน้อยที่สุด และได้รับสินค้าภายในเวลาที่กำหนด จึงเป็นที่มาของการเกิดบริการส่งสินค้าด่วนภายใน 24 ชั่วโมงในปัจจุบัน ปริมาณสินค้า เนื่องจากพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าในปัจจุบัน โดยเฉพาะการสั่งซื้อสินค้าบนระบบการตลาดอิเล็กทรอนิกส์มักอยู่ในรูปแบบของการซื้อปลีกย่อยเป็นรายชิ้น ทำให้ธุรกิจจำเป็นต้องออกแบบระบบการจัดจำหน่ายที่สอดคล้องกับการกระจายสินค้าปลีกย่อยเป็นรายชิ้นไปยังลูกค้ารายบุคคล ซึ่งปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นหลายแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นโดยเชื่อมต่อบริการที่หลากหลาย ทั้งการจัดส่งอาหาร บริการจัดส่งเอกสาร บริการขนส่ง…

Continue Readingการจัดจำหน่ายในการตลาดร่วมสมัย ตอนที่ 5