ประโยชน์ของการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การซื้อหุ้นคืน (Treasury Stock) เป็นเครื่องมือในการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท โดยการซื้อหุ้นคืนของบริษัทในแต่ละครั้ง จะทำให้จำนวนหุ้นที่อยู่ในมือของผู้ถือหุ้นลดลง จึงเป็นการลดจำนวนหุ้นถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักที่จะนำไปคำนวณกำไรสุทธิต่อหุ้น (Earning per Share : EPS) ส่งผลให้กำไรสุทธิต่อหุ้นของบริษัทสูงขึ้นซึ่งอาจทำให้ราคาตลาดของหุ้นสูงขึ้นสะท้อนถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้น นอกจากนี้ ยังเป็นเครื่องมือในการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้น โดยบริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของบริษัทในเรื่องเกี่ยวกับการให้สิทธิออกเสียงลงคะแนน และสิทธิในการรับปันผลของผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ ทำให้บริษัทบริหารงานต่อไปได้ ลดปัญหาขัดแย้งระหว่างบริษัทและผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือของผู้บริหารที่จะสะท้อนมูลค่าหุ้นที่เหมาะสมโดยสามารถสร้างอุปสงค์ในหลักทรัพย์ จากการซื้อหุ้นคืนได้ หากเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ราคาซื้อขายเคยอยู่ในระดับที่สูงกว่ามูลค่าทางบัญชี (Book Value) แต่ปัจจุบันราคาลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่เป็นหุ้นมีปัจจัยพื้นฐานดี เป็นต้น และเพิ่มอุปทาน โดยการเสนอขาย…

Continue Readingประโยชน์ของการซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียน

การดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ มีเกณฑ์การดำรงสถานะเช่นเดียวกัน ได้แก่ 1 ผู้บริหารและผู้มีอำนาจควบคุม ต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เช่น ไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือ ลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารกิจการที่มีมหาชนเป็นผู้ถือหุ้น ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด ไม่เป็นบุคคลที่ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง มติคณะกรรมการ หรือ ข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจน หนังสือเวียนที่กำหนดให้ถือปฏิบัติที่อาจมีผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิประโยชน์ หรือ การตัดสินใจของผู้ถือหุ้น หรือ ผู้ลงทุน…

Continue Readingการดำรงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียน

การระดมทุนของบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนประสงค์จะขยายกิจการหรือลงทุนในธุรกิจเพิ่ม จำเป็นต้องใช้เงินทุนเพิ่มเติมนอกจากการกู้เงินจากสถาบันการเงินแล้ว บริษัทจดทะเบียนยังสามารถระดมทุนโดยตรงได้จากผู้ถือหุ้นหรือผู้ลงทุน โดยแบ่งตามประเภทของภาระผูกพันของเงินทุนที่ระดมทุนได้ 2 ประเภท ได้แก่ 1 ตราสารทุน เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญ เป็นต้น 2 ตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ เป็นต้น โดยมีความแตกต่างของการระดมทุนทั้ง 2 ประเภท ได้แก่ การออกตราสารทุนนั้น ต้นทุนทางการเงิน คือการจ่ายเงินปันผล โดยการจ่ายเงินปันผลจะขึ้นกับผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจะมีความยืดหยุ่นในการจ่ายมากกว่าดอกเบี้ย โดยจะจ่ายต่อเมื่อบริษัทมีผลกำไรจากการดำเนินงาน…

Continue Readingการระดมทุนของบริษัทจดทะเบียน