กรณีการฟื้นฟูอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ของเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

ย่านเมืองเก่าสงขลา  เป็นย่านการค้าสำคัญของเมืองสงขลาในอดีต ก่อนการพัฒนาเมืองเก่าอยู่ในสภาพทรุดโทรมบ้านเรือนถูกเปลี่ยนสภาพจากการทำธุรกิจประมง  อู่เรือ อู่ต่อเรือ ท่าเรือผิดกฎหมาย  ไนท์คลับ ปัญหาประชากรแฝงแรงงานเถื่อน  อาคารเก่าแก่ถูกปล่อยทิ้งร้าง  และปล่อยเช่าในราคาถูก  ย่านการค้าเดิมในอดีตเสื่อมถอย  ต่อมาเทศบาลนครสงขลาและภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคีคนรักเมืองสงขลา  ได้ร่วมกันฟื้นฟูเมืองเก่า  อนุรักษ์อาคารบ้านเรือนและพื้นที่สาธารณะ  พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับบริบทของเมือง  โดยคำนึงถึงผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาย่านการอนุรักษ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า  พัฒนาสู่เมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์  ควบคู่กับการเป็นเมืองเก่าที่ทรงคุณค่าและดำรงซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะของเมืองสงขลา เทศบาลนครสงขลาซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าว ได้มีการใช้ข้อกฎหมายควบคุมและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าสงขลา  โดยออกเทศบัญญัติท้องถิ่นเทศบาลนครสงขลา  เรื่องการกำหนดห้ามก่อสร้างดัดแปลงหรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทบริเวณเมืองเก่า  และการประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่าสงขลา  โดยได้ร่วมมือกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา  เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองเก่าสงขลา นอกจากนี้เทศบาลนครสงขลาได้บริหารจัดการงบประมาณเพื่อการพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลา  ผ่านการออกแบบแผนแม่บท (Master…

Continue Readingกรณีการฟื้นฟูอนุรักษ์และพัฒนาย่านเมืองเก่าสงขลาสู่เมืองสร้างสรรค์ของเทศบาลนครสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

กรณีสภาผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนบริหารจัดการตนเองขององค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อปี พ.ศ. 2560 องค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ได้พัฒนาศักยภาพทุนท้องถิ่นด้วย แนวคิดสภาผู้นำในการขับเคลื่อนผักไหมชุมชนบริหารจัดการตนเอง พัฒนาบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม เป็นพี่เลี้ยง 20 คน ที่มีสมรรถนะในการหนุนเสริมชุมชน 17 หมู่บ้าน 1,230 ครัวเรือน 6,459 คน( พ.ศ. 2560) ผ่านสภาผู้นำ 626 คน ซึ่งสมาชิกสภาผู้นำชุมชน  มาจากกรรมการหมู่บ้าน(กม.) เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง ประชาคม เสนอชื่อและสมัครใจเข้าร่วม จากทุกกลุ่ม…

Continue Readingกรณีสภาผู้นำในการขับเคลื่อนชุมชนบริหารจัดการตนเองขององค์การบริหารส่วนตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ

กรณีชุมชนแห่งความดีและความสุข ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

แนวคิดการนำทุนท้องถิ่นมาสร้างชุมชนแห่งความดีและความสุขของเทศบาลตำบลหนองสาหร่าย เป็นแนวคิดในการบริหารจัดการสถาบันการเงินชุมชนตำบลหนองสาหร่าย ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชุมชนที่ให้บริการแก่ประชาชนใน 9 หมู่บ้านของตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งได้รับรางวัลคุณธรรมแห่งชาติ จากศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) จากการที่สถาบันการเงินแห่งนี้สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนให้สามารถปลดแอกจากปัญหาหนี้สินที่มีมูลค่ารวมกว่า 100 ล้านบาท โดยใช้ “ความดี” เป็นเครื่องมือของการพัฒนาและมี “ความสุข” เป็นเป้าหมายร่วมกัน (ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน), มปป.: ออนไลน์) จุดเริ่มต้นของแนวคิดชุมชนแห่งความดีและความสุข เนื่องจากภาพตำบลหนองสาหร่าย ในความทรงจำของคนในอดีตเต็มไปด้วยความสุข อยู่กันอย่างญาติมิตร ผู้คนมีชีวิตที่เรียบง่าย หาอยู่หากินกันได้ไม่อัตคัดขัดสน จนกระทั่งเมื่อความเจริญรุกเข้ามา พร้อมกับค่านิยมที่ต้องเร่งสร้างความมั่นคงทางการเงิน…

Continue Readingกรณีชุมชนแห่งความดีและความสุข ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี