ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 1) : ภววิทยา

ภววิทยา (Ontology) เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต โดยคำว่า “ภว” (บาลี) หมายถึง สภาวะแห่งการดำรงอยู่ ส่วนคำว่า “วิทยา” (สันสกฤต) นั้นหมายถึง ความรู้ (นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ, 2564) ดังนั้น “ภววิทยา” จึงหมายถึง การมีอยู่หรือการดำรงอยู่ (Being) ของความรู้ (knowledge) ความจริง (Fact) วิชา (Subject) และศาสตร์ (Sciences) แขนงต่างๆ…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 1) : ภววิทยา

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) เป็นการนำความรู้ที่มีอยู่ในองค์การมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้และการจัดการความรู้ในองค์การอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรในองค์การสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เกิดการแบ่งปันความรู้ร่วมกัน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด กระบวนการจัดการความรู้ที่ใช้ในการจัดทำแผนการจัดการความรู้ในโครงการนำร่องของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจความรู้ (Knowledge Identification) การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and…

Continue Readingการจัดการความรู้ (Knowledge Management)

การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)

การแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นกระบวนการหรือขั้นตอนหนึ่งของการจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) ในองค์การ ทั้งนี้การแบ่งปันความรู้เป็นการจัดการความรู้เพื่อให้บุคลากรในองค์การได้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และเพื่อให้บุคลากรในองค์การมีความรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน การแบ่งปันความรู้เกี่ยวข้องกับบุคคล 2 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายแหล่งความรู้ (Knowledge Source) คือผู้ส่งสารที่มีความตั้งใจที่จะให้ความรู้และแบ่งปันความรู้ และฝ่ายผู้รับความรู้ (Knowledge Receiver) คือผู้รับสารที่มีความตั้งใจที่จะรับข้อมูลและความรู้ (วิธัญญา วัณโณ, 2552; Rehman & others, 2014) การแบ่งปันความรู้ในองค์การมีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานขององค์การ…

Continue Readingการแบ่งปันความรู้ (Knowledge Sharing)