เซคิ โมเดล (SECI Model)

ปี ค.ศ.1995 Nonaka & Takeuchi ได้เสนอตัวแบบการแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์การซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้นในองค์การเรียกว่า เซคิ โมเดล (SECI Model) ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547; ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี, 2557; Nonaka, Reinmoeller, & Senoo: 1998; Nonaka, Toyama, & Konno, 2000; Woodfield…

Continue Readingเซคิ โมเดล (SECI Model)

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่อยู่ภายนอกตัวบุคคล มีรูปแบบเป็นทางการ มีความเป็นระบบเชิงเหตุและผล และง่ายต่อการทำความเข้าใจ นอกจากนั้นยังสามารถจัดเก็บ รวบรวม บันทึก และถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ง่าย เช่น เอกสาร คู่มือ หนังสือ วารสาร บทความวิจัย และวีดีทัศน์ต่างๆ (Allameh & others, 2014; Cook & Cook, 2005; Holste & Fields, 2012;…

Continue Readingความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)

ความรู้เชิงปรนัย (Tacit Knowledge)

ความรู้เชิงปรนัย (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ฝังลึกอยู่ในสมองของแต่ละบุคคล เกิดจากพฤติกรรมที่เป็นกิจวัตรประจำวัน การสะสมประสบการณ์ การเรียนรู้ ความเชี่ยวชาญ และพรสวรรค์ต่างๆ ดังนั้นความรู้เชิงปรนัยจึงเป็นความรู้ที่ยากต่อการอธิบาย ยากต่อการประมวล และยากต่อการสื่อสารออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากนั้นความรู้เชิงปรนัยยังเป็นความรู้ที่ยากต่อการเข้าถึงและการแบ่งปันความรู้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความรู้ประเภทนี้สามารถพัฒนาและแบ่งปันกันได้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับบุคคลและองค์การ ตัวอย่างความรู้เชิงปรนัย เช่น ความเชื่อส่วนบุคคล ประสบการณ์ในการทำงาน ทักษะ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ และข้อมูลเชิงลึกต่างๆ (ทอดด์ อาร์. กรอฟฟ์ และโทมัส พี. โจนส์,…

Continue Readingความรู้เชิงปรนัย (Tacit Knowledge)