ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 5) : การวิจัยเชิงคุณภาพ

การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังการวิจัย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่1. ภววิทยา (Ontology) การวิจัยเชิงคุณภาพมีฐานคติ (Assumption) ว่า ความรู้ความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น นักวิจัยสร้างความรู้ความจริงและสร้างความหมายให้กับสิ่งต่างๆจากการมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) กับผู้ถูกวิจัยในบริบทหรือปรากฏการณ์ต่างๆ ดังนั้นนักวิจัยจึงใช้วิจารณญาณส่วนบุคคลในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล2. ญาณวิทยา (Epistemology) การแสวงหาและการเข้าถึงความรู้ความจริงนั้น นักวิจัยจะต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในโลกของผู้ถูกวิจัย (Conceptual World) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิด และสนิทสนมกัน จนเกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ซึ่งจะทำให้ผู้วิจัยตีความหมาย (Interpretation) ข้อมูลและมโนทัศน์ต่างๆได้ตามบริบทหรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงได้3. วิธีวิทยา…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 5) : การวิจัยเชิงคุณภาพ

ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 4) : การวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังการวิจัย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่1. ภววิทยา (Ontology) การวิจัยเชิงปริมาณมีฐานคติ (Assumption) ว่า ธรรมชาติของความรู้ความจริงนั้นเป็นวัตถุวิสัย (Objective) ดำรงอยู่ในรูปของสิ่งของที่ไม่แตกต่างจากวัตถุ ดังนั้นความรู้ความจริงจึงสามารถจับต้องและวัดค่าได้ ความรู้ความจริงเป็นสิ่งของหรือวัตถุที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มนุษย์เองเป็นผู้ที่แสวงหาและนำความรู้ความจริงที่มีอยู่แล้วนั้นมาใช้ผ่านการวิจัย การค้นพบ และการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้นความรู้ความจริงจึงมีคุณลักษณะที่เป็นสากล (Generalization) นั้นคือเป็นจริง สามารถใช้ได้ทั่วไป และไม่ถูกจำกัดด้วยขอบเขตของเวลาและบริบทต่างๆ2. ญาณวิทยา (Epistemology) การแสวงหาและการเข้าถึงความรู้ความจริงนั้น นักวิจัยจะต้องมีความเป็นกลาง และปราศจากค่านิยม…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 4) : การวิจัยเชิงปริมาณ

ปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 3) : วิธีวิทยา

วิธีวิทยา (Methodology) เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ความจริง หรือกระบวนการค้นหาความรู้ความจริงของศาสตร์แขนงต่างๆ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) นั้นมีวิธีวิทยาที่แตกต่างกันการวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอนุมาน (Deductive Approach) เป็นการวิเคราะห์จากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อยแล้วสรุปเป็นข้อค้นพบ (ทวีศักดิ์ นพเกษร, 2548 อ้างถึงใน นาคพล เกินชัย, 2559) สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Social Sciences Research) นั้นมุ่งเน้นการหาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (Cause and Effect Relationship)…

Continue Readingปรัชญาแห่งศาสตร์ (ตอนที่ 3) : วิธีวิทยา