ข้อคิดการลงทุนในตราสารทุน

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต การลงทุนในตราสารทุน หรือที่รู้จักกันว่าการลงทุนในหุ้นจะเห็นการลงทุนที่ตามมาด้วยความเสี่ยงจากการลงทุน ซึ่งหากผู้ลงทุนไม่ได้ศึกษาหาความรู้ให้เข้าใจถึงการลงทุนในตราสารทุนแล้ว อาจกลายเป็นแมงเม่าที่หลงเข้าไปกับข้อมูลที่ฟังต่อๆ กันมา หรือเขาว่า หรือเข่าเล่าว่า เป็นเรื่องที่พูดต่อๆ กันไป โดยที่บางข้อมูลที่ได้รับมานั้นอาจจะไม่มีพื้นฐานความจริงแล้วก็ได้  สำหรับบทความนี้จะนำเสนอข้อคิดการลงทุนในตราสารทุนดังนี้        1. เข้าใจถึงการสร้างความปลอดภัยของเงินทุน  เป็นสิ่งเริ่มต้นที่ผู้ลงทุนจะต้องให้ความเอาใจใส่ ถ้าหากตัดสินใจลงทุนผิดพลาดจะทำให้เงินลงทุนเริ่มแรกอาจสูญเสียบางส่วนหรือทั้งจำนวน  ผู้ลงทุนจะต้องพิจารณาระดับความเสี่ยงของตนเองว่าสามารถรองรับได้ในระดับใด ถ้าในระดับต่ำจะต้องเลือกลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ ที่ได้รับผลตอบแทนแน่นอน        2. เงินลงทุนที่เจริญงอกเงย  ผู้ลงทุนจะต้องมองหาตราสารทุนที่ลงทุนแล้วจะทำให้เงินลงทุนเจริญงอกเงยหรือเพิ่มขึ้นในอนาคต หรือซื้อหุ้นบริษัทที่มีอัตราการเจริญเติบโตหรือขยายตัว…

Continue Readingข้อคิดการลงทุนในตราสารทุน

การจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 2

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต จากตอนที่ 1 ได้นำเสนอลักษณะของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit)  สำหรับตอนนี้จะนำเสนอลักษณะ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ (Surplus) ดังนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ       สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ (Surplus) หมายถึง สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีแหล่งเงินทุนที่ประกอบด้วย เงินฝากจากสมาชิก และทุนเรือนหุ้น มากกว่าความต้องการกู้ยืมของสมาชิก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือมีการพัฒนาหรือการสร้างความมั่นคงทางการเงิน โดยเฉพาะการลดการใช้เงินกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนภายนอก และการบริหารจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือมีแหล่งเงินทุนภายในที่เพียงพอที่จะให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้ยืมได้ ซึ่งลักษณะของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือจะมีสถานะทางการเงินที่มีความมั่นคง และมีความน่าเชื่อถืออย่างมาก       สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือยังแสดงให้เห็นถึงการมีระบบการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการบริหารสินเชื่อหรือระบบการให้กู้ยืมเงินแก่สมาชิก ที่ไม่เพียงการให้กู้ยืมแก่สมาชิกแต่ยังให้กู้ยืมแก่สหกรณ์อื่นด้วย      นอกจากนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือยังมีระบบการตรวจสอบที่มีคุณภาพ…

Continue Readingการจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 2

การจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 1

รองศาสตราจารย์ ดร.กัลยานี ภาคอัต สหกรณ์ออมทรัพย์ หรือ สอ. เป็นสหกรณ์รูปแบบหนึ่งในหลายๆ รูปแบบที่มีเป้าหมายคือ สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นการช่วยเหลือสมาชิกโดยเฉพาะทางการเงิน ซึ่งรูปแบบการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ต่างจากสถาบันการเงิน  ดังนั้น การจัดการการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อสหกรณ์ การนำเสนอเนื้อหาสาระนี้จะอธิบายถึงลักษณะทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ 2 ลักษณะคือ สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit) และสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินเหลือ (Surplus) สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit)       สหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาด (Deficit) หมายถึง สหกรณ์ออมทรัพย์ที่มีแหล่งเงินทุนที่ประกอบด้วย เงินฝากจากสมาชิก และทุนเรือนหุ้น ไม่เพียงพอกับปริมาณเงินที่สมาชิกต้องการกู้ยืม  ทำให้การบริหารจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เงินขาดจะต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอกทั้งระยะสั้น…

Continue Readingการจัดการการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ ตอนที่ 1