กองทุนลดหย่อนภาษี: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) เป็นกองทุนที่ลงทุนได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท และมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีเงินออมระยะยาวไว้ใช้จ่ายในยามเกษียณอายุการทำงาน ทั้งนี้กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF นั้นมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ที่สำคัญดังนี้1. ลงทุนได้ในสินทรัพย์ทุกประเภท2. ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และเมื่อรวมกับการออมเพื่อการเกษียณอื่นๆ ได้แก่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund: PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการออม (Super Savings Fund:…

Continue Readingกองทุนลดหย่อนภาษี: กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

กองทุนลดหย่อนภาษี: กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund: LTF) เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในหุ้นไทย เหมาะกับบุคคลธรรมดาที่มีเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี และพร้อมที่จะถือครองกองทุนดังกล่าวนี้ในระยะยาว การลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF นั้นมีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ต่างๆที่สำคัญดังนี้1. นโยบายการลงทุนคือเป็นการลงทุนในหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน2. สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน 500,000 บาท3. ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องกันทุกปี นั่นคือลงทุนในปีไหนก็นำไปลดหย่อนภาษีในปีนั้น4. ระยะเวลาการถือครองไม่น้อยกว่า 7 ปีปฏิทิน เช่น ซื้อกองทุนปี 2560…

Continue Readingกองทุนลดหย่อนภาษี: กองทุนรวมหุ้นระยะยาว

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ยแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย[1]                    เช่นเดียวกับการบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อปท. จะมีบทบาทหน้าที่ในการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนของ อปท. สำหรับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่นจะหมายถึง การบริการหรือกิจกรรมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยส่วนรวม โดยเป็นกิจการที่อยู่ในความอำนวยการหรืออยู่ในความควบคุมของฝ่ายปกครอง การจัดทำบริการสารณะที่ อปท.จัดทำขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ประชาชนและสร้างการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมให้กับท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาประเทศชาติในภาพรวม สำหรับหลักการที่สำคัญในการจัดบริการสาธารณะคือ การจัดบริการสาธารณะต้องดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวม สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น มีความเสมอภาค มีความต่อเนื่อง และเกิดความโปร่งใสในการให้บริการ อนึ่ง ในการให้บริการสาธารณะ                    การดำเนินงานด้านบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย 1) การจัดบริการสาธารณะที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การสร้างถนน ทางระบายน้ำ ไฟฟ้าสาธารณะ และการบริหารจัดการแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2)…

Continue Readingแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย