ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ

พยัต วุฒิรงค์, 2554 นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรมองค์กรได้อธิบายถึงคุณลักษณะขององค์กรนวัตกรรมไว้ประกอบด้วย 5 คุณลักษณะดังนี้1.) มีความมุ่งมั่นต่อการบรรลุจุดประสงค์ขององค์การ ผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นต่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพฤติกรรมมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์การ ซึ่งความ ล้มเหลวในการสร้างนวัตกรรมมักเกิดจากนโยบายและการปฏิบัติงานที่ขาดความชัดเจน2.) บรรยากาศในการทำงานที่สนับสนุนการทำงานเป็นทีม กล่าวคือองค์กรนวัตกรรมจะใบรรยากาศการทำงานที่เปิดโอกาศให้บุคลากรสามารถแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อเพิ่มความรู้สึกของการเป็นทีเดียวกัน ยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ร่วมกันในลักษณะของ7ความรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีการวางแผนการเปลี่ยนแปลงองค์กรในลักษณะของแผนกลยุทธ์ระยะยาวที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร3.) การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ องค์กรนวัตกรรมนั้นจะต้องมีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีทั้งภายนอกและภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข่าวสาร ทั้งนี้ความสำคัญของความเป็นอิสระของข้อมูลข่าวสารกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความคิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรมได้4.) มีสถาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม หมายรวมถึงการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆขององค์กร เช่น โครงสร้าง การออกแบบงาน สายบังคับบัญชา หน้าที่ความรับผิดชอบ ให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภ่พในการสร้างนวัตกรรม5.) สนับสนุนให้บุคคลากรเกิดการเรียนรู้โดยการคัดเลือก (สรรหา) บุคลกากรที่ทความพร้อมและมีทัศนะคติที่สอดรับการการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการผึกอบรมบุคลากรเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างแรงจูงใจและการยอมรับทางสังคม…

Continue Readingความสามารถในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ

แนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กร (Recourse-based view)

ทั้งนี้ทรัพยากรที่มีคุณค่าองค์การ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ2 ทรัพยากรทุนทางกายภาพ หมายถึง เทคโนโลยีทางกายภาพที่ใช้ในองค์กร โรงงานเครื่องมือ รวมไปถึงสถานที่ตั้งเชิงภูมิศาสตร์ เป็นต้น ทรัพยากรทุนมนุษย์หมายถึงการอบรมลัพะฒนา ประสบการณ์ องค์ความรู้ ที่บุคลากรขององค์กรมี ทรัพยากรทุนองค์การ หมายถึง โครงสร้างองค์การ การวางแผน การประสานงาน ความสัมพันธ์ภายในองค์การและระหว่างองค์การในสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งทุกองค์การต่างแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพบากรณ์ที่มีจำกัดจึงอาจกล่าวได้ว่าภายใต้แนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กรปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันคือการมุ่งเน้นนวัตกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมยุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้เพราะทรัพยากรมนุษย์นั้นถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สามารถพัฒนาได้และเมื่อได้รับการพัฒนาแล้วนั้นก็จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กรและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก่อให้เกิดความเป็นองค์กรนวัตกรรมต่อไปดังนั้นทรัพยากรมนุษย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าหรือทรัพยาการเฉพาะประเภททรัพยากรทุนมนุษย์ตามแนวคิด RBV จึงถือว่ามีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดของการได้เปรียบในการแข่งขัน ในบริบทนี้หมายรวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทุนมนุษย์องค์กรเพื่อสร้างทรัพยากรเฉพาะที่แข็งแกร่ง ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์กรก็เช่นเดียวกันแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรทุนมนุษย์ ดังนั้นจึงมองเห็นได้ถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมองค์การผ่านแนวคิดทฤษฏีทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะ

Continue Readingแนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กร (Recourse-based view)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม

กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์มีอยู่ 6 ขั้นตอนคือ การกำหนดความจำเป็น (Needs Identification) เป็นการคาดหวังหรือรู้ความต้องการขององค์กร การวิเคราะห์ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Challenge Analysis) เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรโดยรวมและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อหาปัจจัยวิกฤติและปัจจัยแห่งความสำเร็จ การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic HRD Planning) ประกอบด้วยเป้าหมายวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การออกแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD Activity Designing) ที่เหมาะสมเพื่อให้ผลการปรับปรุงได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเป้าหมายที่กำหนด การนำแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่การปฏิบัติ (HRD Complementation) เป็นการนำแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้กำหนดไว้ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การประเมินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์…

Continue Readingการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม