กระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

การบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย เป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่เมือง อันได้แก่ เทศบาล เมืองพัทยา กรุงเทพมหานคร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยแต่ละองค์กรมีอำนาจบริหารและดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ ทั้งนี้กรุงเทพมหานครซึ่งมีการบริหารท้องถิ่นแบบระดับเดียว (single tier) ได้รับการกระจายอำนาจและสามารถบริหารการพัฒนาเมืองได้กว้างขวางกว่าองค์กรอื่นซึ่งอยู่ในระบบการบริหารท้องถิ่นแบบ 2 ระดับ แม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละองค์กรสามารถบริหารการพัฒนาท้องถิ่นของตนได้อย่างเป็นอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ซึ่งทำให้การบริหารการพัฒนาในแต่ละเมืองมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วกระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขั้นตอนหลักๆที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจสรุปขั้นตอนหลักในกระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การนำแผนพัฒนาท้องถิ่นไปปฏิบัติ การติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาท้องถิ่น

Continue Readingกระบวนการบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย

การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งถือว่าประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย  ในการปกครองและบริหารท้องถิ่นตามระบอบประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะขาดหายไปไม่ได้เช่นเดียวกัน  ทั้งนี้ ในฐานะที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจในการปกครองตนเองของท้องถิ่น  ดังนั้น ในการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นเมืองนั้นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของตนอย่างกว้างขวาง ซึ่งหมายรวมถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่น ดังนี้             6.1 การมีส่วนร่วมทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการปกครองตนเองของท้องถิ่นอย่างแท้จริง การมีส่วนร่วมทางการเมืองดังกล่าวนี้นอกจากจะหมายถึงการมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นซึ่งจะเป็นผู้ใช้อำนาจท้องถิ่นแทนประชาชนแล้ว ยังหมายถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม (Participative Democracy) ในลักษณะอื่นๆ อย่างกว้างขวางอีกด้วย อาทิ การเสนอความคิดเห็น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การถอดถอน การเสนอร่างกฎหมาย การแสดงประชามติ เป็นต้น  ทั้งนี้  หากเมืองใดไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเหมาะสม การพัฒนาเมืองและชนบทโดยกระบวนการบริหารท้องถิ่นก็จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้…

Continue Readingการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น

ความหมายและลักษณะของการพัฒนาเมืองโดยกระบวนการบริหารท้องถิ่น

การพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแนวทางการพัฒนาเมืองในประเทศประชาธิปไตยที่เน้นความสำคัญของประชาชนเป็นหลักและได้มีการกระจายอำนาจให้ประชาชนในท้องถิ่นปกครองตนเองอย่างกว้างขวาง  รวมทั้งมีการกระจายอำนาจในการพัฒนาเมืองให้เป็นอำนาจของท้องถิ่นทำให้การบริหารการพัฒนาเมืองดำเนินไปตามกระบวนการบริหารท้องถิ่นตั้งแต่การตัดสินใจกำหนดทิศทางหรือนโยบายในการพัฒนา รวมทั้งการวางแผนและโครงการพัฒนาซึ่งอยู่บนพื้นฐานความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเป็นหลัก การดำเนินการพัฒนาภายใต้ความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์กรของประชาชนในท้องถิ่น  จนกระทั่งถึงการควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแล ติดตามผล และการประเมินผลการพัฒนาเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นเป็นสำคัญ             การพัฒนาเมืองหมายถึงการทำให้เมืองดีขึ้นเจริญขึ้น  การพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีความหมายถึงการทำให้เมืองดีขึ้น เจริญขึ้น ด้วยการบริหารจัดการและดำเนินการของแต่ละท้องถิ่น ทั้งนี้โดยใช้อำนาจของประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ  อย่างไรก็ดีอาจสรุปลักษณะสำคัญโดยทั่วไปของการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ ดังนี้             2.1  เป้าหมายของการพัฒนาเมือง การพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อทำให้ท้องถิ่นเมืองแต่ละแห่ง ดีขึ้น เจริญขึ้น ตามที่ประชาชนต้องการ  ฉะนั้น  ทิศทางการพัฒนาเมืองจึงมีลักษณะของการมุ่งสู่เป้าหมายที่มีความสอดคล้องต้องกันกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นเมืองนั้นๆเป็นสำคัญ              2.2 อำนาจในการพัฒนาเมือง…

Continue Readingความหมายและลักษณะของการพัฒนาเมืองโดยกระบวนการบริหารท้องถิ่น