สมรรถนะของผู้นำเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ในการบริหารงานทั้งภาครัฐและเอกชนให้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงควรมีสมรรถนะที่สำคัญ 8 ประการ (Quinn, 2009) ดังนี้ 1) สมรรถนะการเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ผู้บริหารควรเป็นผู้นำที่มีความเอื้ออาทรความห่วงใยในการแนะนำ การสอนงานให้กับลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงาน ด้วยความเมตตา ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ โดยต้องมีสมรรถนะมีความเข้าใจในตนเองและผู้ร่วมงานเป็นอย่างดี มีความสามารถในการอธิบาย สั่งงาน ติดต่อสื่อสารในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าใจในเป้าหมายของหน่วยงาน 2) สมรรถนะการเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) มีลักษณะเป็นสมรรถนะเกี่ยวกับการเป็นผู้บริหารจัดการทีมงานที่ดี เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีความสามารถในการบริหารจัดการความขัดแย้งได้ดี เพื่อให้เกิดความเชื่อถือความไว้วางใจ สร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานและสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน 3) สมรรถนะการเป็นผู้ติดตาม กำกับ…

Continue Readingสมรรถนะของผู้นำเพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง

แนวคิดการบริหารดุลการคลังท้องถิ่น 

ดุลการคลังท้องถิ่น (Local-fiscal balance) เป็นการศึกษาถึงความสมดุลหรือไม่สมดุลของการ กระจายอำนาจทางการคลังที่เกิดขึ้นในระบบการบริหารการคลังของรัฐบาล จัดเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างรัฐบาล (intergovernmental relation) ในทางการคลังรูปแบบหนึ่ง (Boadway and Hobson, 1993) เป็นการพิจารณาระดับความไม่ สมดุลทางการคลังที่เกิดขึ้นในประเทศใดประเทศหนึ่งที่มีตัวแสดงในฐานะรัฐบาลมากกว่าหนึ่งรัฐบาลและ มากกว่าหนึ่งระดับ เช่น รัฐบาลละดับชาติหรือรัฐบาลกลาง รัฐบาลระดับมลรัฐหรือรัฐบาลระดับภูมิภาค และ รัฐบาลระดับท้องถิ่น/ชุมชนท้องถิ่น โดยในทางการปกครอง  รัฐบาลระดับชาติหรือรัฐบาลกลางจะเป็นผู้เก็บ รวบรวมภาษีส่วนใหญ่ของประเทศ ในขณะที่รัฐบาลในระดับท้องถิ่น จะเป็นผู้จัดบริการสาธารณะส่วนใหญ่โดย ใช้จ่ายเงินงบประมาณจำนวนมากกว่ารายได้หรือภาษีอากรที่ตนเองมีอำนาจจัดเก็บได้โดยตรง ซึ่งเป็นที่มาของ ความแตกต่างและความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นในการบริหารการคลังระหว่างรัฐบาลทั้งแนวตั้ง…

Continue Readingแนวคิดการบริหารดุลการคลังท้องถิ่น 

บทบาทของผู้บริหาร

บทบาท (Role) เป็นพฤติกรรมของบุคคลที่ถูกคาดหวัง จากผู้อื่นว่าควรจะแสดงออกอย่างไร จึงจะเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ของบุคคลนั้นผู้บริหารหรือผู้จัดการเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันองค์การให้เดินหน้าไปตามเป้าหมาย  อนึ่ง บทบาทพื้นฐานทั่วไปของผู้บริหารทุกระดับ  สามารถจำแนกได้ดังนี้           1) บทบาทในฐานะผู้นำ ผู้บริหารจะต้องเป็นผู้ที่มองอนาคต กำหนดเป้าหมายและชี้นำทิศทางขององค์การและกระตุ้นจูงใจผู้ปฏิบัติงานให้ทุ่มเททำงานให้เป็นไปในทิศทางและวัตถุประสงค์ที่กำหนด           2) บทบาทในฐานะผู้ติดตามตรวจสอบ ผู้บริหารต้องประเมินติดตามตรวจสอบ ความก้าวหน้าของงานอย่างสม่ำเสมอ คู่แข่ง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิธีการทำงานใหม่ๆ เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงวิเคราะห์ ปัญหา โอกาส ต้องศึกษาข้อมูลจากรายงานต่างๆ และจากเครือข่ายทั้งที่เป็นข้อมูลภายในและข้อมูลจากภายนอก เพื่อปรับปรุงแผนการดำเนินงาน การบริหารจัดการทรัพยากร และระบบจัดการภายในให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ          …

Continue Readingบทบาทของผู้บริหาร