The Key Level of Planning: ระดับที่มีความสำคัญของการวางแผน
การวางแผนทุกระดับจะมีประโยชน์ต่อองค์การทั้งในระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การป้องกันมิให้เกิดปัญหาและความผิดพลาด หรือลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานในอนาคต
2. การทำให้องค์การมีกรอบหรือทิศทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ ทำให้นักบริหารมีความมั่นใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ง่าย
3. การช่วยให้เกิดการประหยัดทรัพยากรทางการบริหาร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ และเวลา
4. การช่วยให้การปฏิบัติงานรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพราะมีแผนเป็นแนวทาง
5. การช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นระบบ ผู้บริหารสามารถควบคุม และติดตามการปฏิบัติงานได้
ทั้งนี้ ในการแบ่งระดับของการวางแผนตามลักษณะของการบริหารงานในองค์การนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 ระดับที่มีความสำคัญของการวางแผน ดังนี้
1. การวางแผนระดับนโยบาย (Policy Planning)
เป็นแผนระดับสูงสุดขององค์การ มักจะระบุแนวทางอย่างกว้าง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดแผนชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่จะเป็นแผนระยะยาว (Long – Range Plan) เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. การวางแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Planning)
เป็นการวางแผนหลอมรวมครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดขององค์การ หรือแผนงานใหญ่ขององค์การ โดยจะระบุไว้อย่างกว้าง และมองไกลไปพร้อมๆกัน ซึ่งมักจะเป็นแผนระยะยาว 5 – 10 ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้องกับแผนระดับนโยบาย
3. แผนปฏิบัติการ หรือแผนดำเนินงาน (Operation Plan)
เป็นการวางแผนที่กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้น ระยะเวลา ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งถ่ายทอดมาจากแผนยุทธศษสตร์ โดยองค์ประกอบของแผนปฏิบัติการจะประกอบด้วย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณ ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน ซึ่งแผนปฏิบัติการสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
3.1 แผนใช้ประจำ (Standing Plans)
3.2 แผนใช้เฉพาะครั้ง (Single – Use Plans)