Ethics for Entrepreneurs Part 1

คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดีของบุคคลที่มีจริยธรรมในจิตใจ ซึ่งมีความเคยชินในการประพฤติดีอย่างใดอย่างหนึ่ง คุณธรรมเป็นความดีงามที่เกิดจากการกระทำ ความประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามทั้งต่อตนเอง และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำนั้นด้วย (เนตร์พัณณา ยาวิราช 2555: 7) คุณธรรม หมายถึง ธรรมะที่อยู่ในจิตสำนึกหรืออุปนิสัยของบุคคล เป็นคุณความดีที่บริสุทธิ์ภายในตัวตนผู้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ในการรับรู้ ในการคิด ในการทำงาน ในการพูด ในการประกอบอาชีพ มีธรรมะเป็นหลักยึดของจิตใจ มีจิตใจที่ซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นเมตตาธรรมเป็นสรณะและอุดมคติ (พิภพ วชังเงิน 2546: 2) จริยธรรม หมายถึง แนวทางการประพฤติปฏิบัติ ที่อาศัยหลักการด้านศีลธรรม…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 1

คุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในศตวรรตที่ 21

ทักษะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ               ประกอบไปด้วย 3ทักษะคือ (1) ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอล คือ การปรับใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำงานได้อย่างถูกต้องแหละเหมาะสมทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและตอบโจทย์การปฏิรูปภาครัฐ นอกจากนี้ทักษะด้านดิจิตอลยังหมายรวมถึงความสามารถในการคาดการณ์สถานการณ์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรอันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล  (2) การทำงานแบบบูรณาการหรือการทำงานเป็นทีม คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและภาคส่วนอื่นๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทั้งนี้หมายรวมถึงทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันข้อมูล การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรเพื่อบริหารความขัดแย้ง และ (3) มีศักยภาพในการตัดสินใจและปฏิบัติโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ คือ ความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรที่มีนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผลสูงสุด ในกรณีของบุคลากรองค์กรภาครัฐย่อมหมายถึงการใช้ทรัพยากรในการจัดทำริการสาธารณะให้แก่ประชาชนโดยคุ้มค่าต่อภาษีที่ประชาชนจ่ายด้วยความรวดเร็วแลมีประสิทธิภาพ 2. ทักษะเชิงกลยุทธ์               ประกอบด้วย 3ทักษะคือ (1) ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ…

Continue Readingคุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในศตวรรตที่ 21

PRICING STRATEGIES

กลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้น สามารถทำได้โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต่างๆ  ได้แก่ กลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อการส่งเสริมการตลาด กลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อตอบสนองทางด้านจิตวิทยาของผู้บริโภค ดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.  กลยุทธ์การกำหนดราคาเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ หมายถึง การกำหนดราคาผลิตภัณฑ์โดยพิจารณาถึงลักษณะและวิธีการใช้งาน สามารถกระทำได้ 5 แนวทาง ดังนี้ 1.1 การกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ควบคู่กัน (Captive pricing) เป็นการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์หลักหรือผลิตภัณฑ์พื้นฐานให้มีราคาไม่สูงนัก โดยไม่ได้หวังกำไรจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์พื้นฐาน แต่จะไปทำการบวกกำไรส่วนที่ต้องการกับผลิตภัณฑ์ที่ต้องนำมาใช้ควบคู่กัน เช่น การจำหน่ายมีดโกนในราคาที่ไม่สูงนัก แต่ตั้งราคาใบมีดโกนที่ต้องใช้ร่วมกันไว้ค่อนข้างสูง เป็นต้น 1.2 การกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ที่สามารถปรับเสริม (Optional pricing)…

Continue ReadingPRICING STRATEGIES