คุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในศตวรรตที่ 21

ทักษะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ               ประกอบไปด้วย 3ทักษะคือ (1) ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอล คือ การปรับใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำงานได้อย่างถูกต้องแหละเหมาะสมทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและตอบโจทย์การปฏิรูปภาครัฐ นอกจากนี้ทักษะด้านดิจิตอลยังหมายรวมถึงความสามารถในการคาดการณ์สถานการณ์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรอันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล  (2) การทำงานแบบบูรณาการหรือการทำงานเป็นทีม คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและภาคส่วนอื่นๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทั้งนี้หมายรวมถึงทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันข้อมูล การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรเพื่อบริหารความขัดแย้ง และ (3) มีศักยภาพในการตัดสินใจและปฏิบัติโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ คือ ความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรที่มีนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผลสูงสุด ในกรณีของบุคลากรองค์กรภาครัฐย่อมหมายถึงการใช้ทรัพยากรในการจัดทำริการสาธารณะให้แก่ประชาชนโดยคุ้มค่าต่อภาษีที่ประชาชนจ่ายด้วยความรวดเร็วแลมีประสิทธิภาพ 2. ทักษะเชิงกลยุทธ์               ประกอบด้วย 3ทักษะคือ (1) ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ…

Continue Readingคุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในศตวรรตที่ 21

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

บริษัทมหาชนจำกัด บังคับโดยหน่วยงานกำกับดูแลให้กิจการนำ หลักการกำกับดูแลที่ดี พ.ศ. 2560 (CG Code) และจรรยาบรรณธุรกิจ (Code of conduct) มาเป็นแนวปฏิบัติ ซึ่งต้องจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ทั้งบริษัทและบริษัทย่อยปฏิบัติเช่นเดียวกันประกอบด้วย นโยบายและแนวปฏิบัติการกำกับดูแลกิจการที่เกี่ยวกับคณะกรรมการ ระบุถึงการสรรหา องค์ประกอบ คุณสมบัติของคณะกรรมบริษัท บทบาทหน้าที่ การกำหนดค่าตอบแทนประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหารและคณะกรรมกรรมของบริษัท การประเมินผลการปฏิบัติงานและการกำกับดูแลบริษัทย่อยบริษัทร่วม การพัฒนากรรมการและผู้บริหาร แผนการสืบทอดตำแหน่ง รวมถึงนโนบายแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับผู้ถือหุ้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ ระบุสิทธิของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย การประชุมผู้ถือหุ้น การดำเนินการในวันประชุมผู้ถือหุ้น การจัดทำรายงานการประชุมและการเปิดเผยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น การปฏิบัติต่อถือหุ้นผู้อย่างเท่าเทียม การส่งเสริมการใช้สิทธิของผู้ถือหุ้น การต่อต้านทุจริต การดำเนินการกับผู้ที่ไม่ทำตามนโยบายและแนวปฏิบัติ             การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาที่สำคัญของนโยบาย แนวปฏิบัติ และระบบการกำกับดูแลกิจการในรอบปีผ่านมา ซึ่งให้ข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการการทบทวนนโยบาย…

Continue Readingนโยบายการกำกับดูแลกิจการ

ความเป็นมาของการกำกับดูแลกิจการ

ธุรกิจที่มีขนาดเล็กและเป็นการดำเนินธุรกิจแบบครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ การควบคุมได้โดยอาศัยบุคคลในครอบครัวซึ่งเป็นผู้ที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้เป็นผู้รับผิดชอบงานเป็นส่วน ๆ ไป แต่ปัจจุบันกิจการได้พัฒนาขยายเครือข่ายกว้างขวางขึ้นยากที่จะใช้บุคคลในครอบครัวซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่ในด้านการจัดการ โดยเฉพาะการควบคุมงาน ผู้บริหารไม่สามารถที่จะทราบรายละเอียดของการปฏิบัติงานเท่าที่ควร ดังนั้นการกำกับดูแลกิจการจึงเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการบริหาร              กิจการจำเป็นต้องมีเงินทุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับการขยายกิจการหรือพัฒนาสินค้า โดยเงินทุนที่ต้องการนั้นสามารถทำได้โดยการเพิ่มจำนวนผู้เป็นเจ้าของหรือการกู้ยืม อย่างไรก็ตามการระดมทุนจากส่วนของเจ้าของทำให้เกิดกติกาที่มากกว่าความเชื่อใจ นั้นคือการสร้างระบบควบคุมภายในและเน้นให้มีการใช้หลักการกำกับดูแลกิจการ หรือคำว่า ธรรมาภิบาล มากขึ้น เนื่องจากผู้เป็นเจ้าของไม่ได้มามีส่วนร่วมในการบริหารเสมอไป ยิ่งหากเป็นบริษัทจำกัดมหาชนที่ระดุมทุนจากประชาชนทั่วไปด้วยจำนวนหุ้นนับล้านหุ้น ผู้เป็นเจ้าของจะร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการ ในการบริหารองค์กรแทนตน ซึ่ง Jensen and Meckling (1976) ได้นำเสนอทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) ระบุว่าการที่เจ้าของกิจการไม่สามารถบริหารจัดการธุรกิจเองได้จึงมีการจ้างบุคคลภายนอกมาบริหารงานแทนตน (Agency)  ตามทฤษฎีดังกล่าวเจ้าของกิจการเรียกว่า ตัวการ (Principle) ส่วนผู้ที่มาบริหารงานหรือคณะกรรมการเรียกว่า ตัวแทน (Agent) มีหน้าที่ในการตอบสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น…

Continue Readingความเป็นมาของการกำกับดูแลกิจการ

ความยั่งยืนในมุมการบัญชี

ด้วยสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงจนกระทั้งเกิดผลกระทบทางลบต่อกิจการและสิ่งมีชีวิต ทำให้ทั่วโลกให้ความสนใจกับคำว่า ESG ซึ่งเป็นองค์ประกอบของการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ดังนั้นนักลงทุนให้ความสนใจการดำเนินงานอย่างยืน ที่มากกว่าการเน้นผลการดำเนินงานที่เป็นตัวเลขทางการเงินเท่านั้น และต้องการทราบว่ากิจการที่ลงทุนนั้นได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม การกำกับดูแลกิจการอย่างไร ซึ่ง ทางมุมการบัญชีได้จัดตั้ง International Suitability Standard Board (ISSB) โดยได้การพัฒนามาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน โดยได้ออกมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน 2 ฉบับ คือ  IFRS S1 General Requirements for Disclosure of Sustainability-related Financial Information เป็นข้อกำหนดทั่วไปสำหรับการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน กำหนดให้กิจการเปิดเผย การกำกับดูแลกิจการ กลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง…

Continue Readingความยั่งยืนในมุมการบัญชี