Ethics for Entrepreneurs Part 4

จริยศาสตร์คานต์ (Kantian ethics) (ต่อ) ตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คานต์” นั้น เป็นไปตามกฎคำสั่งแบบเด็ดขาด (Categorical Imperative: CI) กฎนี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือวิธี CI A และ วิธี CI B ซึ่งวิธี CI A นี้ได้กล่าวไปแล้วใน Ethics for Entrepreneurs Part 3…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 4

Ethics for Entrepreneurs Part 3

จริยศาสตร์คานต์ (Kantian ethics)             จากแนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” นั้น จะมุ่งเน้นไปที่ผลของการกระทำ โดยไม่คำนึงถึงแรงจูงใจ เช่น การที่เด็กอายุ 2 ขวบนำถ้วยกาแฟมาให้แม่แล้วทำถ้วยตกแตก ถ้าเป็นการตัดสินใจจากแนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” จะพบว่า เด็กมีความผิด แต่ในความเป็นจริงเด็กอายุ 2 ขวบมีเจตนาดีที่จะช่วยแม่ แต่เนื่องจากเป็นเด็กอายุเพียง 2 ขวบ การถือถ้วยกาแฟที่ร้อนอาจเป็นเรื่องที่ยากเกินไปจนนำไปสู่การกระทำที่เป็นความผิดขึ้น ดังนั้นในบางแง่มุมของแนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” จึงขัดต่อความรู้สึก เพราะการกระทำเดียวกันในบางสถานการณ์หนึ่งอาจถูก แต่ถ้าอยู่ในอีกสถานการณ์หนึ่งกลับผิดได้ เพราะ…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 3

Ethics for Entrepreneurs Part 2

การตัดสินใจอย่างมีจริยธรรมของผู้ประกอบการ ตามแนวทางประโยชน์นิยม ประโยชน์นิยม (Utilitarianism) เป็นการตัดสินใจโดยประเมินจากผลการกระทำที่กระทบต่อความสุขโดยรวมของทุกคน การกระทำที่เพิ่มความสุขโดยรวมถือเป็นการกระทำที่ดีที่สุดตามหลักจริยธรรม อย่างไรก็ตามความสุขนั้นถือว่าเป็นความรู้สึกส่วนตัว จึงเป็นการยากที่จะประเมิน และมีความไม่แน่นอนเนื่องจากเป็นการคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งควรมีการพิจารณาถึงกลุ่มบุคคลที่จะได้รับผลของการกระทำอันเกิดจากการตัดสินใจเพื่อประเมินถึงความสุขโดยรวมของทุกคนในแต่ละแง่มุม ขั้นตอนการตัดสินใจตามแนวทางประโยชน์นิยมมีดังนี้                         1) ระบุหรือกำหนดทางเลือกทั้งหมด                         2) พิจารณาว่า ใครได้รับผลกระทบจากการกระทำเหล่านั้น                         3) ให้คะแนนวัดความสุข ในระดับ +10 ถึง -10 โดย                                     +10 หมายถึง      ความสุขสูงสุดที่เป็นไปได้…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 2