Ethics for Entrepreneurs Part 4

จริยศาสตร์คานต์ (Kantian ethics) (ต่อ)

ตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คานต์” นั้น เป็นไปตามกฎคำสั่งแบบเด็ดขาด (Categorical Imperative: CI) กฎนี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือวิธี CI A และ วิธี CI B ซึ่งวิธี CI A นี้ได้กล่าวไปแล้วใน Ethics for Entrepreneurs Part 3 ดังนั้นใน Part นี้จะกล่าวถึงเฉพาะวิธี CI B เท่านั้น

วิธี CI B : วิธีนี้ให้ผู้ประกอบการตัดสินใจโดยเคารพในศักดิ์ศรีของทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน เนื่องจากคานต์เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการแยกแยะเหตุผลได้ ไม่ได้ทำตามสัญชาติญาณเพียงอย่างเดียวเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น คานต์จึงให้แนวคิดทางจริยธรรมว่า ไม่ควรปฏิบัติกับผู้อื่นเป็นเพียงวัตถุหรือเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมายใดๆ แต่ควรปฏิบัติต่อกันในฐานะสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล ดังนั้นวิธี CI B  นี้จึงมีกฎว่า ควรปฏิบัติต่อผู้อื่นเช่นเดียวกับที่ต้องการให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อเรา (Kant, 1998, p. 38)

            สรุปได้ว่า วิธี CI B เป็นการแสดงความเคารพต่อบุคคลโดยกระทำการใดที่เคารพต่อศักดิ์ศรีของทุกคนที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบจากการกระทำ ในฐานะสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล

            จากตัวอย่างกรณีที่แจ็คไปพบอุบัติเหตุและใช้แนวทางจริยธรรม “ประโยชน์นิยม” ตัดสินใจนั้น ถ้านำมาพิจารณาตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คานต์” แล้วจะพบว่า การที่จะช่วยเหลือผู้อื่นก็ต่อเมื่อฉันไม่เสียเปรียบจากการทำเช่นนั้น หรือจะกระทำการใดในทุกสถานการณ์เพื่อประโยชน์ส่วนตน ถือว่าเป็นการแสวงหาผลประโยชน์จากสถานการณ์ที่สิ้นหวัง ถือเป็นการดูหมิ่นศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การตัดสินใจภายใต้แนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คานต์” จะพิจารณาเพียงแค่ต้องการให้ทุกคนในโลกช่วยเหลือผู้อื่นในสถานการณ์ที่สิ้นหวังได้อย่างสมเหตุสมผลตราบเท่าที่พวกเขาสามารถทำได้