คุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในศตวรรตที่ 21

ทักษะที่เกี่ยวข้องกับภารกิจ               ประกอบไปด้วย 3ทักษะคือ (1) ความรู้เกี่ยวกับดิจิตอล คือ การปรับใช้เทคโนโลยีร่วมกับการทำงานได้อย่างถูกต้องแหละเหมาะสมทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและตอบโจทย์การปฏิรูปภาครัฐ นอกจากนี้ทักษะด้านดิจิตอลยังหมายรวมถึงความสามารถในการคาดการณ์สถานการณ์ทั้งภายนอกและภายในองค์กรอันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความสามารถในการกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีดิจิตอล  (2) การทำงานแบบบูรณาการหรือการทำงานเป็นทีม คือ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและภาคส่วนอื่นๆทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทั้งนี้หมายรวมถึงทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งปันข้อมูล การสร้างเครือข่ายระหว่างองค์กรเพื่อบริหารความขัดแย้ง และ (3) มีศักยภาพในการตัดสินใจและปฏิบัติโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ คือ ความสามารถในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ มีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรที่มีนำมาใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิผลสูงสุด ในกรณีของบุคลากรองค์กรภาครัฐย่อมหมายถึงการใช้ทรัพยากรในการจัดทำริการสาธารณะให้แก่ประชาชนโดยคุ้มค่าต่อภาษีที่ประชาชนจ่ายด้วยความรวดเร็วแลมีประสิทธิภาพ 2. ทักษะเชิงกลยุทธ์               ประกอบด้วย 3ทักษะคือ (1) ความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ…

Continue Readingคุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในศตวรรตที่ 21

Agile Leadership : สไตล์ผู้นำที่เหมาะสมกับยุค Disruption

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ผู้นำที่มีความคล่องตัว (Agile leadership) คือ ผู้นำที่มีสไตล์การบริหารงานที่ความตื่นตัวสูงต่อการปรับตัว การสร้างความร่วมมือ และการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงด้วยการพยายามค้นหาทางเลือกนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่องค์การ โดยผู้นำที่มีความคล่องตัวจะสร้างวัฒนธรรมการทำงานขององค์การใหม่ที่จะทำให้พนักงานทุกคนทำงานด้วยความตื่นตัวต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นองค์การที่มีความคล่องตัวหรือองค์การที่มีความปราดเปรียวหรือที่เรียกว่า Agile Organizationเขาจะทำให้องค์การที่มีสายการบังคับบัญชาแบบเดิมที่เราเคยชินกลายมาเป็นองค์การที่น่าเบื่อ ที่พนักงานเรียกร้องและอยากหากับสไตล์การทำงานแบบคล่องตัวแบบนี้มานานแล้ว ซึ่ง Amit Pathak (2023) เห็นว่าสไตล์ผู้นำที่มีความคล่องตัวมีความเหมาะสมอย่างมากกับสภาพแวดล้อมของธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วดังเช่นในปัจจุบัน สไตล์ของผู้นำแบบนี้จะนำองค์กรด้วยการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ให้แก่องค์การ และจะเป็นผู้ทำให้คนอื่นเห็นตัวอย่างจากการกระทำหรือการเปลี่ยนแปลงจากเขาก่อน จากนั้นเขาก็จะพยายามดลใจให้คนอื่นพยายามทำตาม เขาจะเป็นนักคิดที่มีคุณภาพสูงทั้งการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาสิ่งใหม่ด้วยการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นผู้นำที่พร้อมรับฟังความคิดเห็นจากพนักงานอย่างเต็มที่ มอบอำนาจให้แก่ลูกน้องในการคิด ทำอย่างเต็มที่ เขาจะเป็นผู้ที่สร้างความไว้ใจ ความเชื่อมั่น และการเคารพให้เกียรติแก่พนักงานทุกคน…

Continue ReadingAgile Leadership : สไตล์ผู้นำที่เหมาะสมกับยุค Disruption

Insights from the CAS International Management Program – Bridging Theory with Global Practice

As I reflect on my time during the CAS International Management program, one of the most valuable lessons I’ve learned is the importance of effectively adapting global strategies to diverse…

Continue ReadingInsights from the CAS International Management Program – Bridging Theory with Global Practice

ความเสี่ยงด้านระบบัญชีการเงิน (3)

แนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านระบบบัญชีการเงิน หมายถึง นโยบายและวิธีการต่างๆ ที่จะสนับสนุนกิจกรรมที่จะป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม การอนุมัติรายการบัญชีและการปฏิบัติงาน การมีระบบเอกสารหลักฐานที่เหมาะสมและเพียงพอ การควบคุมทรัพย์สินและบันทึกรายการข้อมูลต่างๆ และการตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยอิสระ ดังรายละเอียดดังนี้ การแบ่งแยกหน้าที่อย่างเหมาะสม ลักษณะหน้าที่งานบางอย่างควรมีการแบ่งแยกกันทำ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดหรือการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การแบ่งแยกหน้าที่การดูแลรักษาทรัพย์สินออกจากหน้าที่งานบัญชี ตามหลักการแบ่งแยกหน้าที่กันทำ พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาทรัพย์สินไม่ควรเป็นผู้จัดทำหรือบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้น เช่น พนักงานการเงินที่มีหน้าที่ในการรับเงินไม่ควรเป็นผู้บันทึกรายการรับเงิน รายการขาย หรือการตัดบัญชีลูกหนี้การค้า พนักงานที่มีหน้าที่ดูแลสินค้าคงเหลือ ไม่ควรเป็นผู้บันทึกบัญชีคุมสินค้า เป็นต้น การแบ่งแยกหน้าที่การอนุมัติรายการออกจากหน้าที่การดูแลรักษาทรัพย์สิน เช่น พนักงานดูแลรักษาเงินสดย่อยไม่ควรเป็นผู้ที่มีอำนาจในการลงนามอนุมัติการจ่ายเงินสดย่อย พนักงานดูแลรักษาสินค้าคงเหลือไม่ควรเป็นผู้มีอำนาจอนุมัติการเบิกจ่ายสินค้าคงเหลือออกจากคลังสินค้า เป็นต้น…

Continue Readingความเสี่ยงด้านระบบัญชีการเงิน (3)