ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษ์กับการสร้างสรรค์นวัตกรรม

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ขององค์การและมีผลสอดคล้องในลักษณะที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน กล่าวคือกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีผลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในองค์การให้สอดรับกับสิ่งที่องค์การต้องการให้เป็นอันจะนำไปสู่การดำเนินงานขององค์การที่มีประสิทธิภาพ มีสมรรถนะสูง และมีความเป็นนวัตกรรม ดังนั้นการฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์ควรได้รับการออกแบบในลักษณะที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ การใช้การคัดเลือกอย่างระมัดระวังและการลงทุนที่สูงในการพัฒนาฝึกอบรมจะช่วยส่งเสริมทักษะและความสามารถที่สูงขึ้น (Guest, 1997) กลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นเรื่องของการบูรณาการทั้งสิ้น การบูรณาการจะทำให้มั่นใจได้ว่าการจัดการทรัพยากรมนุษย์ได้บูรณาการเข้ากับแผนกลยุทธ์ซึ่งจะทำให้นโยบายการจัดการทรัพยากรมนุษย์เชื่อมโยงกับนโยบายทุกเรื่องในระดับเดียวกันและต่างระดับกันและผู้บริหารไม่ว่าจะอยู่ในสายการ บังคับบัญชาใดก็จะสามารถนำไปปฎิบัติให้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำวัน

Continue Readingความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษ์กับการสร้างสรรค์นวัตกรรม

กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบมิชิแกน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สําหรับตัวแบบการจัดการทรัพยากรมนุษยแบบมิชิแกนนี้พัฒนาโดย ฟอมเบิร์น และคณะ (Fombrun et al,1984) ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดจากสํานึกวิชามิชิแกน (Michigan School) ที่เชื่อว่าการจัดการระบบทรัพยากรมนุษย์ด้านต่างๆ ขององค์การจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ คือ1) กระบวนการสรรหาและคัดเลือก 2) กระบวนการฝึกอบรมและพัฒนา 3) กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน 4) กระบวนการให้รางวัลและผลตอบแทน โดยสรุป การจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไลหนึ่งในการบริหารงานองค์การให้สามารถดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งอาจสรุปความได้ว่า “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” เป็นหน้าที่ด้านการบริหารของงองค์การที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาบุคลากร การฝึกอบรมและพัฒนา การเสริมสร้างแรงจูงใจ และการบำรุงรักษาบุคลากรที่ดีให้สามารถอยู่กับองค์การ…

Continue Readingกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบมิชิแกน

องค์การแห่งการเรียนรู้

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้หรือ Learning Organization คือองค์การที่มีกระบวนการที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างบุคลากรในองค์การ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้จากภายนอก เพื่อก่อให้เกิดการริ่เริ่มของนวัตกรรมในองค์การ แนวคิดขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามทัศนะของ ปีเตอร์ เชงเก้(Peter M. Senge) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งหมด 5องค์ หรือที่เรียกว่า The Fifth Discipline คือ บุคลากรชั้นเลิศ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีแบบแผนความคิดร่วม การเรียนรู้เป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบ

Continue Readingองค์การแห่งการเรียนรู้