องค์การแห่งการเรียนรู้

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้หรือ Learning Organization คือองค์การที่มีกระบวนการที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างบุคลากรในองค์การ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้จากภายนอก เพื่อก่อให้เกิดการริ่เริ่มของนวัตกรรมในองค์การ แนวคิดขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามทัศนะของ ปีเตอร์ เชงเก้(Peter M. Senge) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งหมด 5องค์ หรือที่เรียกว่า The Fifth Discipline คือ บุคลากรชั้นเลิศ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีแบบแผนความคิดร่วม การเรียนรู้เป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบ

Continue Readingองค์การแห่งการเรียนรู้

ลักษณะขององค์กรนวัตกรรม

ลักษณะขององค์การที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมจำเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การทที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรคนวัตกรรม เช่น การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ ลักษณะโครงสร้างองค์กรที่เป็นแบบสิ่งมีชีวิต (มีลำดับสายบังคับบัญชาน้อย) การมีทรัพยากรเพียงพอ การสร้างบรรยาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน 2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยอาศัยกระบวนการในการจัดการทรัพยากรมุษย์ เช่น กระบวนการสรรหา/คัดเลือก การฝึกอบรมพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ 3. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนของความรู้ในทุกระดับ ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การให้คำมั่นสัญญาในการเรียนรู้การมีวิสัยทัษน์ร่วมกัน การเปิดรับสิ่งใหม่ การแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์การ 4.มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งในด้าน นวัตกรรมสินค้า นวัตกรรมกระบวนการ และ นวัตกรรมเชิงพฤติกรรม

Continue Readingลักษณะขององค์กรนวัตกรรม

ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ

พยัต วุฒิรงค์, 2554 นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรมองค์กรได้อธิบายถึงคุณลักษณะขององค์กรนวัตกรรมไว้ประกอบด้วย 5 คุณลักษณะดังนี้1.) มีความมุ่งมั่นต่อการบรรลุจุดประสงค์ขององค์การ ผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่นต่อการสร้างนวัตกรรมเชิงพฤติกรรมมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมภายในองค์การ ซึ่งความ ล้มเหลวในการสร้างนวัตกรรมมักเกิดจากนโยบายและการปฏิบัติงานที่ขาดความชัดเจน2.) บรรยากาศในการทำงานที่สนับสนุนการทำงานเป็นทีม กล่าวคือองค์กรนวัตกรรมจะใบรรยากาศการทำงานที่เปิดโอกาศให้บุคลากรสามารถแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อเพิ่มความรู้สึกของการเป็นทีเดียวกัน ยอมรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ร่วมกันในลักษณะของ7ความรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังมีการวางแผนการเปลี่ยนแปลงองค์กรในลักษณะของแผนกลยุทธ์ระยะยาวที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์กร3.) การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ องค์กรนวัตกรรมนั้นจะต้องมีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดีทั้งภายนอกและภายในองค์กรเพื่อสนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข่าวสาร ทั้งนี้ความสำคัญของความเป็นอิสระของข้อมูลข่าวสารกระตุ้นให้บุคลากรเกิดความคิดใหม่ที่เป็นนวัตกรรมได้4.) มีสถาพแวดล้อมขององค์กรที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และสร้างนวัตกรรม หมายรวมถึงการปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่างๆขององค์กร เช่น โครงสร้าง การออกแบบงาน สายบังคับบัญชา หน้าที่ความรับผิดชอบ ให้มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภ่พในการสร้างนวัตกรรม5.) สนับสนุนให้บุคคลากรเกิดการเรียนรู้โดยการคัดเลือก (สรรหา) บุคลกากรที่ทความพร้อมและมีทัศนะคติที่สอดรับการการสร้างสรรค์ความคิดใหม่ๆ รวมไปถึงการผึกอบรมบุคลากรเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นในการสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างแรงจูงใจและการยอมรับทางสังคม…

Continue Readingความสามารถในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ