กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบมิชิแกน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

สําหรับตัวแบบการจัดการทรัพยากรมนุษยแบบมิชิแกนนี้พัฒนาโดย ฟอมเบิร์น และคณะ (Fombrun et al,1984) ซึ่งเป็นกลุ่มนักคิดจากสํานึกวิชามิชิแกน (Michigan School) ที่เชื่อว่าการจัดการระบบทรัพยากรมนุษย์ด้านต่างๆ ขององค์การจะต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลยุทธ์ขององค์การ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ คือ1) กระบวนการสรรหาและคัดเลือก 2) กระบวนการฝึกอบรมและพัฒนา 3) กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน 4) กระบวนการให้รางวัลและผลตอบแทน โดยสรุป การจัดการทรัพยากรมนุษย์เป็นกลไลหนึ่งในการบริหารงานองค์การให้สามารถดำเนินการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งอาจสรุปความได้ว่า “การจัดการทรัพยากรมนุษย์” เป็นหน้าที่ด้านการบริหารของงองค์การที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาบุคลากร การฝึกอบรมและพัฒนา การเสริมสร้างแรงจูงใจ และการบำรุงรักษาบุคลากรที่ดีให้สามารถอยู่กับองค์การ…

Continue Readingกระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบมิชิแกน

องค์การแห่งการเรียนรู้

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

แนวคิดองค์การแห่งการเรียนรู้หรือ Learning Organization คือองค์การที่มีกระบวนการที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ใหม่ระหว่างบุคลากรในองค์การ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้จากภายนอก เพื่อก่อให้เกิดการริ่เริ่มของนวัตกรรมในองค์การ แนวคิดขององค์การแห่งการเรียนรู้ตามทัศนะของ ปีเตอร์ เชงเก้(Peter M. Senge) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับองค์การแห่งการเรียนรู้ กล่าวว่า องค์การแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งหมด 5องค์ หรือที่เรียกว่า The Fifth Discipline คือ บุคลากรชั้นเลิศ การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน การมีแบบแผนความคิดร่วม การเรียนรู้เป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบ

Continue Readingองค์การแห่งการเรียนรู้

5 เลขานุการบริษัทจดทะเบียน

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

เนื่องจาก พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 ได้กำหนดตำแหน่งเลขานุการบริษัทซึ่งมีอำนาจหน้าที่กว้างขวางกว่าเลขานุการในความหมายทั่วไปมาก มีความรับผิดเช่นเดียวกับกรรมการบริษัทและผู้บริหารของบริษัท  โดยคณะกรรมการบริษัทจดทะเบียนต้องจัดให้มีเลขานุการบริษัททำหน้าที่รับผิดชอบในนามของบริษัทและคณะกรรมการบริษัท ได้แก่ 1 จัดทำและเก็บรักษาเอกสาร ทะเบียนกรรมการ หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการ รายงานการประชุมคณะกรรมการ หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น และรายงานประจำปีของบริษัท โดยในทางปฏิบัติเลขานุการบริษัทต้องรวบรวมข้อมูลจากส่วนงานต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำรายงานประจำปี โดยอาจมอบหมายให้บุคคลอื่นช่วยดำเนินงานด้วย แต่ความรับผิดชอบยังเป็นของเลขานุการบริษัท 2 เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่รายงานโดยกรรมการหรือผู้บริหารบริษัท 3 ดำเนินการอื่นๆตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศ คุณสมบัติของเลขานุการบริษัทจดทะเบียนนั้น ไม่ได้มีระบุไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้น บริษัทสามารถแต่งตั้งให้ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นเลขานุการบริษัทได้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบริษัทเอง  โดยเลขานุการบริษัทจดทะเบียนต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ระมัดระวัง มีความซื่อสัตย์สุจริต…

Continue Reading5 เลขานุการบริษัทจดทะเบียน