วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้านการท่องเที่ยว : การสังเกต

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การสังเกต (Observation) หมายถึงการเฝ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้นหรือปรากฏขึ้นอย่างเอาใจใส่และกำหนดไว้อย่างมีระเบียบวิธี เพื่อวิเคราะห์หรือหาความสัมพันธ์ของสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นกับสิ่งอื่น การสังเกตทำให้รู้พฤติกรรมที่แสดงออกมาเป็นธรรมชาติ เป็นข้อมูลโดยตรงตามสภาพความเป็นจริง จัดเป็นข้อมูลแบบปฐมภูมิที่มีความน่าเชื่อถือมาก ประเภทของการสังเกตที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพด้านการท่องเที่ยว มี 2 แบบ ได้แก่ 1. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) คือ การสังเกตชนิดที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษา มีการร่วมกระทำกิจกรรมด้วยกันและพยายามให้คนในชุมชนนั้นยอมรับว่าผู้สังเกตมีสถานภาพบทบาทเช่นเดียวกับตน จนกระทั่งผู้สังเกตเข้าใจโลกทัศน์ ความรู้สึกนึกคิด และความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฏการณ์ที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา การสังเกตแบบมีส่วนร่วมประกอบด้วยกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การสังเกต การซักถาม และการจดบันทึกข้อมูล เช่น…

Continue Readingวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้านการท่องเที่ยว : การสังเกต

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับจรรยาวิชาชีพวิจัย

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับจรรยาวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ ได้แก่ หลักฆราวาสธรรม 4 หลักสัปปุริสธรรม 7 และหลักอิทธิบาท 4 รายละเอียดของหลักธรรมมีดังนี้ 1. หลักฆราวาสธรรม 4 เป็นหลักธรรมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพต่าง ๆ ใช้ยึดเป็นคุณธรรมพื้นฐานของจิตใจในการครองชีวิต ให้ประสบความสุขสมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคคลทั้งหลาย ประกอบด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1.1 สัจจะ (ความซื่อสัตย์) นักวิจัยด้านการท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ในทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย ตั้งแต่ก่อนการดำเนินงานวิจัย ระหว่างดำเนินงานวิจัย และหลังการดำเนินงานวิจัยรวมถึงการเผยแพร่ผลงานวิจัยและการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เสนอข้อมูลและแนวคิดโดยสุจริตไม่สร้างผลงานวิจัยอันเป็นเท็จ และไม่จ้างวานผู้อื่นทำวิจัยให้…

Continue Readingหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับจรรยาวิชาชีพวิจัย

ลักษณะสำคัญของการวิจัยด้านการท่องเที่ยว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การวิจัยเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ช่วยทำให้ได้ข้อเท็จจริง หรือความรู้ที่ถูกต้อง เที่ยงตรงมากกว่าวิธีการอื่น เนื่องจากมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ 1. การให้ความสำคัญกับการตั้งคำถาม (Research Question-oriented) การวิจัยด้านการท่องเที่ยวเริ่มต้นได้ด้วยการตั้งคำถามที่แต่ละคนสนใจแล้วพัฒนาเป็นโจทย์การวิจัย 2. การสนับสนุนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creativity) การตั้งคำถามในการวิจัยด้านการท่องเที่ยวช่วยทำให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ที่น่าสนใจและนำไปสู่การพยายามหาคำตอบ และการค้นพบสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก 3. การให้ความสำคัญกับระเบียบวิธีวิจัย (Methodology-oriented) การวิจัยด้านการท่องเที่ยวเป็นกระบวนการที่มีระบบ ขั้นตอนและแบบแผนที่แน่นอน ชัดเจน ตลอดจนมีการรายงานผลการวิจัยต่อสาธารณะที่ทำให้ได้ข้อสรุปที่มีความเที่ยงตรง เป็นกลางและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม 4. การเป็นเรื่องสาธารณะมากกว่าเรื่องส่วนตัว (Public Interest)…

Continue Readingลักษณะสำคัญของการวิจัยด้านการท่องเที่ยว