คุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในองค์กรแห่งนวัตกรรม

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ผู้เขียนบทความได้วิเคราะห์และสรุปคุณลักษณะของบุคลากรในองค์กรภาครัฐไทยที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยสามารถจำแนกได้เป็นสามประเภทคือ ทักษะทางภารกิจซึ่งเป็นทักษะที่ส่งเสริมให้บุคลากรสามารถทำงานท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิตอลซึ่งจำต้องอาศัยเทคโนโลยีและความสามารถในการบูรณาการองค์ความรู้ต่างๆเพื่อตัดสินใจโดยคิดอย่างมีวิจารณญาณและมีเหตุผล ทักษะด้านกลยุทธ์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับความสามารถในการวิเคราะห์ วิพากษ์ ตัดสินใจเพื่อรับมือสถานการณ์ต่างๆ และทักษะเชิงนวัตกรรมคือทักษะที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในสร้างองค์ความรู้ใหม่

Continue Readingคุณลักษณะที่จำเป็นของบุคลากรองค์กรภาครัฐไทยในองค์กรแห่งนวัตกรรม

บทบาทนักทรัยากรมนุษย์ในฐานะหุ้นส่วนกลยุทธ์

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บทบาทของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐไทยมีหน้าที่เป็นเสมือนหุ้นส่วนกลยุทธ์ (Strategic partner) ซึ่งเป็นบทบาทเชิงรุกที่ให้ความสำคัญกับสมรรถนะของทุนมนุษย์ในการสร้างคุณค่าและนวัตกรรมบทบาทในฐานะหุ้นส่วนกลยุทธ์มีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยทุนมนุษย์สู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม โดยบทบาทของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจจึงมีส่วนในการสร้างและพัฒนายุทธศาสตร์ขององค์กร มีส่วนช่วยในการผลักดันกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านจ่างๆที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในองค์กร โดยนำเอาภารกิจหลักของภาครัฐไทยมีสี่ด้านประกอบไปด้วย ภารกิจด้านการพัฒนานโยบาย ภารกิจด้านการให้บริการและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภารกิจด้านการบริหารสัญญาจ้าง และภารกิจในการบริหารเครือข่ายมาปรับใช้ควบคู่กับการพัฒนาทุนมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรมหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กรผสานร่วมกับแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล

Continue Readingบทบาทนักทรัยากรมนุษย์ในฐานะหุ้นส่วนกลยุทธ์

บทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

บทบาทในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) โดยหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่ในการผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนองค์กรไปสู่องค์การนวัตกรรม สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพของบุคลากรอันประกอบไปด้วย โครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่นกระชับชัดเจน การบริหารที่ไม่รวมศูนย์อำนาจ โครงสร้างกฎหมายและอำนาจที่สนับสนุนให้บุคลากรสามารถคิดวิเคราะห์อย่างสร้างสรรค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่สนับสนุนนวัตกรรมอาทิเช่น วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดกว้างและสนับสนุนการเรียนรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง ให้มีความเข้มแข็งและเป็นที่ยอมรับ (พยัต วุฒิรงค์.2559). รวมไปถึงพัฒนาระบบและนโยบายการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้เหมาะสมต่อการเรียนรู้และการพัฒนาของบุคลากร

Continue Readingบทบาทของนักทรัพยากรมนุษย์ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลง