พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ

พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) คือพันธบัตรรัฐบาลที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงตามค่าดัชนีอัตราเงินเฟ้อโดยผู้ถือพันธบัตรจะได้รับอัตราผลตอบแทนใน 3 รูปแบบคือ อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้หน้าตั๋ว ส่วนชดเชยเงินเฟ้อของดอกเบี้ย และส่วนชดเชยเงินเฟ้อของเงินต้นหรือเงินลงทุน พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อจะให้ส่วนชดเชยทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ถือพันธบัตรเมื่ออัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเพื่อรักษาระดับอำนาจซื้อของเงินลงทุนและผลตอบแทนของผู้ถือพันธบัตร และเมื่อพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อครบกำหนดไถ่ถอนแล้วถ้าอัตราเงินเฟ้อมีค่าสูงผู้ถือพันธบัตรจะได้มูลค่าไถ่ถอนเท่ากับมูลค่าตามหน้าตั๋วบวกด้วยค่าชดเชยเงินเฟ้อ แต่ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับเงินค่าไถ่ถอนคืนพันธบัตรไม่น้อยกว่ามูลค่าหน้าตั๋วแม้กว่าอัตราเงินเฟ้อจะติดลบก็ตาม                 พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อในประเทศไทยในปี พ.ศ.2565 มีมูลค่าคงค้างเพียง 1.07 แสนล้านบาท คิดเป็น 1.5%ของมูลค่าคงค้างของมูลค่าคงค้างของพันธบัตรรัฐบาลไทย ซึ่งถือว่ามีสัดส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ตามภาวะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2565 ทำให้พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีแนวโน้มที่จะมีการออกพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ แหล่งข้อมูลอ้างอิง สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย. (2565). ทางเลือกการลงทุนในยุคเงินเฟ้อสูง...พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ…

Continue Readingพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ

บาทบอนด์

                บาทบอนด์ (Baht bond) คือตราสารหนี้สกุลเงินบาทที่ออกโดยนิติบุคคลต่างประเทศ และเสนอขายในประเทศไทย ผู้ออกบาทบอนด์จะต้องขออนุญาตออกบาทบอนด์ต่อสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสังกัดกระทรวงการคลังก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะสามารถยื่นแบบแสดงรายการขอเสนอขายตราสารหนี้ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ได้ ซึ่งการออกบาทบอนด์ เป็นการจัดหาเงินทุนเพื่อใช้ดำเนินงาน หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์การหรือนิติบุคคลต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินงานในประเทศไทย                 การออกบาทบอนด์ต้องมีการจัดอันดับเครดิตหรืออันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ชั้นสากล (International credit rating) ในระดับที่ไม่ต่ำกว่า A- ที่จัดอันดับโดยสถาบันจัดอันดับเครดิตที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล แต่ถ้าผู้ออกบาทบอนด์เป็นองค์การหรือนิติบุคคลจากประเทศลาว กัมพูชา เมียนม่า และเวียดนาม สามารถใช้ผู้จัดอันดับเครดิตความน่าเชื่อถือของประเทศไทยได้                 บาทบอนด์เริ่มมีการออกครั้งแรกในปี…

Continue Readingบาทบอนด์

การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าส่งผลการเกิดความจงรักภักดีของธุรกิจโรงแรม

รายได้จากการท่องเที่ยวในประเทศไทยแบ่งเป็นรายได้ที่มาจากคนไทยมูลค่า 1,071,342.10 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35 และเป็นเงินจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวที่ประเทศไทย 1,912,183.56 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 65 (สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2563) โดยมูลค่าอันดับหนึ่งของการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว คือการจ่ายสำหรับโรงแรม ปี พ.ศ. 2561 เท่ากับ 762,002 ล้านบาท สอดคล้องกับดัชนีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว (Travel & Tourism Competitive Index) ระบุใน The Travel &…

Continue Readingการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าส่งผลการเกิดความจงรักภักดีของธุรกิจโรงแรม