ทฤษฏีตัวแทน (Agency Theory)                               

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ทฤษฎีตัวแทนเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายกลไกการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมของคนและความเป็นไปในองค์กร โดยมองว่าเจ้าของกิจการไม่สามารถบริหารงานเพียงผู้เดียวได้จึงทำให้ต้องมีบุคคลที่เข้ามาช่วยในการบริหารงานแทนเจ้าของกิจการ               ในแง่ของบรรษัทภิบาลนั้น ทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) ได้ถูกอธิบายโดย  Jensen and Meckling (1976) ว่า ความสัมพันธ์ที่เกิดจากบุคคลสองฝ่ายโดยที่บุคคลฝ่ายหนึ่งคือ ตัวการ (Principal) จะเป็นผู้ยินยอมมอบทรัพยากรและสิทธิในการจัดการทรัพยากรที่ตนมีอยูให้กับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า ตัวแทน (Agency) ซึ่งจะทำการบริหารจัดการกิจการให้ตัวการ เพื่อให้ตัวการได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุด และตัวแทนจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานนั้น  กล่าวคือ  ผู้ถือหุ้นเป็นผู้ให้ฝ่ายบริหารดำเนินการแทนตน          ซึ่งการที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถลวงรู้ข้อมูลการตัดสินใจของฝ่ายบริหารย่อมทำให้เกิดต้นทุนจากการมอบอำนาจในการดำเนินการขึ้น หรือเรียนกว่า ต้นทุนตัวแทน โดยต้นทุนนี้ประกอบด้วยต้นทุนในการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารและต้นทุนในการจูงใจให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจดำเนินการที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้น ถ้าฝ่ายบริหารตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ส่งผลให้มู่ลค่าของบริษัทลดลง…

Continue Readingทฤษฏีตัวแทน (Agency Theory)                               

ผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานในธุรกิจครอบครัว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

Burkart et al. (2003) และ Amore et al. (2011) พบว่ากฎระเบียบของประเทศ เช่นการปกป้องผู้ถือหุ้น การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น ความแตกต่างระหว่างการควบคุมและความเป็นเจ้าของกิจการ และการคาดการณ์ต้นทุนตัวแทนต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย เป็นต้น มีผลต่อการดำเนินงานของผู้บริหารสูงสุดในบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ Nelson (2005) และ Chrisman et al. (1998) พบว่า คุณสมบัติของผู้บริหารสูงสุดมีผลต่อบรรษัทภิบาลของกิจการ และยังส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกิจการ โดย Kaplan et…

Continue Readingผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานในธุรกิจครอบครัว

การกำกับดูแลกิจการในธุรกิจครอบครัว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

La Porta et al. (1999) และ La Porta et al. (2000) ศึกษาพบว่ากฎระเบียบของประเทศมีผลต่อการปกป้องผู้ถือหุ้นในธุรกิจครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญ โดยในประเทศกำลังพัฒนาที่บรรษัทภิบาลยังไม่พัฒนาและมีความแตกต่างระหว่างการควบคุมและความเป็นเจ้าของกิจการสูง โดยเฉพาะเมื่อโครงสร้างของกิจการครอบครัวเป็นแบบพีระมิด ยิ่งส่งผลต่อการดำเนินงานในธุรกิจครอบครัวอย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Claessens et al. (2000) นอกจากนี้ การศึกษาของ Villalonga and Amit (2006) พบว่า ความขัดแย้งระหว่างสมาชิกครอบครัวที่ถือหุ้นกับผู้ถือหุ้นรายอื่นในธุรกิจครอบครัวที่ผู้สืบทอดกิจการเป็นผู้บริหารสูงสุดของกิจการมีต้นทุนที่สูงกว่าความขัดแย้งระหว่างตัวแทนและตัวการในกิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว ในขณะที่ Anderson…

Continue Readingการกำกับดูแลกิจการในธุรกิจครอบครัว