การจัดการบริการนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลรัฐ

               ในปี 2565 มีกฏหมายใหม่หลายฉบับที่เกียวข้องกับการใช้สื่อในโซเชียล โดยเฉพาะพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร 2565 ทำให้ผู้เขียนต้องพิจารณาไตร่ตรองก่อนที่จะเขียนนำเสนอข้อคิดความเห็นเรื่องใดในบลอคนี้ อย่างไรก็ตามในฐานะนักวิชาการที่สอนทางด้านการจัดการก็อดที่จะขอแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตในแง่มุมที่อาจเป็นประโยชน์ต่อสังคม                 ในวันที่ฟ้าครึ้มมีฝนโปรยปรายทั้งวันอย่างวันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565 นี้ผู้เขียนมีนัดหมายไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร  เป็นการนัดหมายบริการนอกเวลาราชการที่ผู้เขียนตัดสินใจใช้บริการมาตั้งแต่ปี 2550 ที่ตรวจพบว่ามีปัญหาสุขภาพตามวัย เป็นโรคทางอารยุกรรมชุดหนึ่ง คือ เบาหวาน ไขมัน ความดัน  ซึ่งฐานะข้าราชการการใช้สิทธิรักษาพยาบาลทำให้ได้ตัดสินใจใช้บริการของโรงพยาบาลรัฐที่ได้ไปตรวจเพื่อรักษาโรคชุดนี้ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด ขณะนั้นยังมีเวลาราชการอีกนานสิบกว่าปีจึงเลือกที่จะใช้บริการนอกเวลาราชการเพื่อไม่ให้รบกวนเวลาทำงานประจำ การไปใช้บริการดังกล่าวเป้นการไปเจาะเลือด พบแพทย์และรับยา ซึ่ง เวลาพบแพทย์เป็นวันจันทร์ทำให้การไปเจาะเลือดในเช้าวันจันทร์และพบแพทย์ในวันเดียวกันไม่สามารถทำได้ เนื่องจากผู้เขียนพักอาศัยในจังหวัดปทุมธานี…

Continue Readingการจัดการบริการนอกเวลาราชการของโรงพยาบาลรัฐ

ทฤษฏีตัวแทน (Agency Theory)                               

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ทฤษฎีตัวแทนเป็นทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายกลไกการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งสะท้อนพฤติกรรมของคนและความเป็นไปในองค์กร โดยมองว่าเจ้าของกิจการไม่สามารถบริหารงานเพียงผู้เดียวได้จึงทำให้ต้องมีบุคคลที่เข้ามาช่วยในการบริหารงานแทนเจ้าของกิจการ               ในแง่ของบรรษัทภิบาลนั้น ทฤษฎีตัวแทน (Agency Theory) ได้ถูกอธิบายโดย  Jensen and Meckling (1976) ว่า ความสัมพันธ์ที่เกิดจากบุคคลสองฝ่ายโดยที่บุคคลฝ่ายหนึ่งคือ ตัวการ (Principal) จะเป็นผู้ยินยอมมอบทรัพยากรและสิทธิในการจัดการทรัพยากรที่ตนมีอยูให้กับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งที่เรียกว่า ตัวแทน (Agency) ซึ่งจะทำการบริหารจัดการกิจการให้ตัวการ เพื่อให้ตัวการได้รับผลตอบแทนที่สูงที่สุด และตัวแทนจะได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานนั้น  กล่าวคือ  ผู้ถือหุ้นเป็นผู้ให้ฝ่ายบริหารดำเนินการแทนตน          ซึ่งการที่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถลวงรู้ข้อมูลการตัดสินใจของฝ่ายบริหารย่อมทำให้เกิดต้นทุนจากการมอบอำนาจในการดำเนินการขึ้น หรือเรียนกว่า ต้นทุนตัวแทน โดยต้นทุนนี้ประกอบด้วยต้นทุนในการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารและต้นทุนในการจูงใจให้ฝ่ายบริหารตัดสินใจดำเนินการที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถือหุ้น ถ้าฝ่ายบริหารตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ส่งผลให้มู่ลค่าของบริษัทลดลง…

Continue Readingทฤษฏีตัวแทน (Agency Theory)                               

ผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานในธุรกิจครอบครัว

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

Burkart et al. (2003) และ Amore et al. (2011) พบว่ากฎระเบียบของประเทศ เช่นการปกป้องผู้ถือหุ้น การกระจุกตัวของผู้ถือหุ้น ความแตกต่างระหว่างการควบคุมและความเป็นเจ้าของกิจการ และการคาดการณ์ต้นทุนตัวแทนต่อผู้ถือหุ้นรายย่อย เป็นต้น มีผลต่อการดำเนินงานของผู้บริหารสูงสุดในบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ Nelson (2005) และ Chrisman et al. (1998) พบว่า คุณสมบัติของผู้บริหารสูงสุดมีผลต่อบรรษัทภิบาลของกิจการ และยังส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกิจการ โดย Kaplan et…

Continue Readingผู้บริหารสูงสุดและผลการดำเนินงานในธุรกิจครอบครัว