อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

อัตรส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไรจะใช้การวิเคราะห์ความสามารถทำกำไรของกิจการ ซึ่งกำไรแสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานของผู้บริหาร โดยเป็นการนำเงินทุนไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สามารถชำระเงินให้แก่เจ้าหนี้ในรูปดอกเบี้ยและให้ผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นในรูปเงินปันผลได้  นอกจากนี้ กำไรยังแสดงถึงความสามารถดึงดูดนักลงทุนใหม่ให้ตัดสินใจลงทุนในกิจการได้อีกด้วย โดย อัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไรที่สำคัญ ได้แก่ อัตรากำไรขั้นต้น อัตรากำไรสุทธิ อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และกำไรต่อหุ้น (Brigham and Daves, 2014; Chandra, 2006; Paramasivan and Subramanian, 2016; Shim and Siegel, 2007)  การอ้างอิง Brigham,…

Continue Readingอัตราส่วนแสดงความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratios)

อัตราส่วนแสดงโครงสร้างทางการเงิน (Leverage Ratios)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

อัตราส่วนแสดงโครงสร้างทางการเงิน (Leverage Ratios) หรืออัตราส่วนแสดงการบริหารหนี้สิน (Debt Management Ratios) จะใช้วิเคราะห์ความสามารถในการก่อหนี้ของกิจการ โดยประเมินว่ากิจการสามารถที่จะชำระหนี้และดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ระยะยาวได้ตามเวลาหรือไม่ เจ้าหนี้ระยะยาวจะได้รับความคุ้มครองจากส่วนของผู้ถือหุ้นมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไป กิจการมักจะจัดหาเงินทุนจากหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น[1] ซึ่งแหล่งเงินทุนทั้งสองจะมีต้นทุนเงินทุน (Cost of Capital) ที่แตกต่างกันไป โดยการจัดหาเงินทุนจากหนี้สินไม่หมุนเวียน เช่น เงินกู้ระยะยาว และหุ้นกู้ เป็นต้น จะได้รับประโยชน์ต่อกิจการในรูปของการประหยัดภาษี และมีต้นทุนของเงินทุนต่ำ อย่างไรก็ตาม การจัดหาเงินทุนจากหนี้สินมีภาระผูกพันที่จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเพื่อเป็นการตอบแทนแก่เจ้าของเงินทุนตามข้อกำหนดการกู้ยืม ซึ่งถ้ากิจการจัดหาเงินทุนจากหนี้สินที่มากเกินไป จะทำให้เกิดความเสี่ยงทางการเงินและการไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดเวลา ซึ่งนำไปสู่ปัญหาภาวะล้มละลายได้ ส่วนการจัดหาเงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้น…

Continue Readingอัตราส่วนแสดงโครงสร้างทางการเงิน (Leverage Ratios)

อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratios)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์จะใช้วิเคราะห์ว่า กิจการสามารถบริหารทั้งสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ กิจการใช้เวลาในการขายสินค้า หรือเก็บเงินจากลูกหนี้มากน้อยเพียงใด รวมทั้ง วิเคราะห์การใช้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่   การวิเคราะห์อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์จึงใช้ในการประเมินความสามารถของฝ่ายบริหาร ซึ่งสะท้อนความสามารถในการนำสินทรัพย์ของกิจการที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่หรือให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อก่อให้เกิดรายได้และผลตอบแทนให้แก่กิจการ หากกิจการสามารถใช้สินทรัพย์เพียงเล็กน้อยแต่สามารถก่อให้เกิดรายได้จำนวนมาก ย่อมแสดงถึงการบริหารสินทรัพย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่ความสำเร็จและความมั่นคงขององค์การได้ ในทางกลับกัน หากกิจการใช้สินทรัพย์จำนวนมาก แต่ทำให้เกิดรายได้และผลตอบแทนจำนวนน้อย ย่อมแสดถึงการบริหารสินทรัพย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้การค้า อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน และอัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Brigham and Daves, 2014; Chandra, 2006; Paramasivan…

Continue Readingอัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Management Ratios)