การรายงานเชิงบูรณาการ (Integrated Reporting)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

  รายงานเชิงบูรณาการ (Integrated Report: IR) คือ รายงานที่ให้ข้อมูลเพื่อการสื่อสารอย่างกระชับเกี่ยวกับกลยุทธ์ (Strategic)การกำกับดูแลกิจการ (Governance) ผลการปฏิบิติงาน (Performance) และอนาคตที่คาดหวัง (Prospects) ขององค์กร ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมภายนอก ที่นําไปสู่การสร้างคุณค่าทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว การรายงานเชิงบูรณาการเริ่มต้นจากการตั้งคําถามง่ายๆ ดังต่อไปนี้ องค์กรจะวัดความสําเร็จในการบริหารทรัพยากรและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียในหลายๆ กลุ่ม เช่น ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ชุมชน…

Continue Readingการรายงานเชิงบูรณาการ (Integrated Reporting)

ก้าวทันเทคโนโลยีในวิชาชีพบัญชี

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

ในทุกๆ สาขาวิชาชีพมักต้องเผชิญกับสิ่งท้าทายตลอดเวลา วิชาชีพบัญชีก็เช่นกัน ต้องเผชิญกับสิ่งใหม่ ๆ ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของกระบวนการทางธุรกิจ ทำให้นักบัญชีต้องลดบทบาทจากการทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ลงบัญชี (Bookkeeper) แต่กลายมาเป็นนักวิเคราะห์มากขึ้น นักบัญชีจะต้องเพิ่มพูนความรู้ในด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อผสมผสานเข้ากันได้กับความต้องการของธุรกิจ กระบวนการทำงาน และแม้แต่ความต้องการของลูกค้า นักบัญชีต้องสร้างพลังเชิงรุกเพื่อเดินไปข้างหน้าให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจในวิชาชีพบัญชี ได้แก่ 1.      Cloud-Based Accounting Technologies         จากการสำรวจในสหรัฐอเมริกา พบว่า 67% ของนักบัญชีเชื่อว่าเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง หรือที่เราเรียกกันว่า “โปรแกรมบัญชีออนไลน์” จะช่วยให้การทำหน้าที่ของนักบัญชีได้สะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีความยืดหยุ่นในการใช้งานสูง…

Continue Readingก้าวทันเทคโนโลยีในวิชาชีพบัญชี

การตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะผลิตและขายกรณีทรัพยากรมีจำกัด

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

การเลือกสินค้าที่จะผลิตและขายเป็นหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้บริหาร โดยเฉพาะกิจการที่มีการผลิตและขายสินค้าหลายชนิดโดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งทรัพยากรในที่นี้ หมายถึง ปัจจัยการผลิต เช่น วัตถุดิบ แรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร พื้นที่โรงงาน เป็นต้น  โดยมักจะประสบปัญหาในระยะสั้นเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีจำกัด เช่น เครื่องจักรที่มีอยู่สามารถผลิตสินค้าได้ในจำนวนจำกัด วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีจำกัด พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารโรงงานมีจำกัด เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ทั้งหมด และเนื่องจากสินค้าแต่ละชนิดมีกำไรส่วนเกินต่อหน่วยไม่เท่ากัน ดังนั้น  ผู้บริหารจึงต้องตัดสินใจว่าจะเลือกผลิตและขายสินค้าชนิดใด เป็นจำนวนเท่าใด จึงจะทำให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากรที่มีอยู่          ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะกรณีที่มีข้อจำกัดของทรัพยากร 1 ข้อจำกัด   การวิเคราะห์จะต้องพิจารณา กำไรส่วนเกินต่อ 1…

Continue Readingการตัดสินใจเลือกสินค้าที่จะผลิตและขายกรณีทรัพยากรมีจำกัด