หลีกเลี่ยงการคัดลอกวรรณกรรมได้อย่างไร

การหลีกเลี่ยงการลอกเลียนทางวรรณกรรมที่ง่ายที่สุดคือ การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล และให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ผู้อ่านในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลเหล่านั้นทุกครั้ง ซึ่ง The learning Centre, The University of New South Wales (2011) ได้เสนอวิธีการเลี่ยงการลอกเลียนทางวรรณกรรมว่า (1) ผู้เขียนจะต้องพึงตระหนักถึงการใช้คำหรือความคิดของผู้อื่นในงานเขียนของตนโดยต้องอ้างอิงอยู่เสมอ (2) วางแผนการเขียนผลงานโดยให้เวลาอย่างเหมาะสม ไม่ใช้เวลารีบเร่งกระทั่งเวลากลายเป็นตัวบีบบังคับให้ต้องพึ่งผลงานของผู้อื่นในงานเขียนของตนเองมากเกินไป (3) อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ทั้งหมดให้ถูกต้องตามรูปแบบการอ้างอิงทางวิชาการ (4) เรียนรู้วิธีการผนวกรวมงานของผู้อื่นในผลงานของตนเอง ด้วยการสรุป (summarizing) และถอดความ (paraphrasing) แนวคิดด้วยถ้อยคำของตนเองเพื่อแสดงความเข้าใจของผู้เขียน (5)…

Continue Readingหลีกเลี่ยงการคัดลอกวรรณกรรมได้อย่างไร

การคัดลอกวรรณกรรม คืออะไร

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้เอื้อประโยชน์และเพิ่มโอกาสแก่ผู้ที่สนใจในการเข้าถึงแหล่งความรู้ทางวิชาการ ขณะเดียวกันกลับเป็นการเปิดโอกาสให้มีการลอกเลียนทางวรรณกรรม (Plagiarism) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานเขียนทางวิชาการง่ายยิ่งขึ้นเช่นกัน  Plagiarism (การลอกเลียนทางวรรณกรรม) คือ การใช้ข้อความหรือความคิดของผู้อื่น และนำเสนอข้อความหรือความคิดเหล่านั้นเสมือนว่าเป็นของตนเอง ซึ่งสามารถพบได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการคัดลอกโดยไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยเจตนาหรือโดยบังเอิญ ทั้งนี้รูปแบบการลอกเลียนทางวรรณกรรมที่พบได้โดยทั่วไป ได้แก่ การดาวน์โหลดงานผลงานทั้งหมดหรือบางส่วนจากระบบออนไลน์ การซื้อ, การขโมยหรือยืมผลงาน การคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือหรือบทความ แล้วส่งผลงานนั้นเสมือนว่าเป็นงานของตัวเอง นอกจากนี้ยังรวมถึง การคัดลอกแบบคำต่อคำ การคัดลอกคำ/ข้อความเฉพาะของบุคคล การใช้แก่นความคิดสำคัญของเรื่อง และการคัดลอกงานเขียนของบุคคล โดยไม่มีการอ้างอิงแต่กลับนำเสนอเสมือนว่าเป็นงานของตน รวมถึงการระบุแหล่งข้อมูลการอ้างอิงผิดพลาด การปรับเปลี่ยนคำแล้วคัดลอกโครงสร้างประโยคจากแหล่งข้อมูลโดยไม่อ้างอิง การเขียนงานทางวิชาการโดยวางอยู่บนการใช้ผลงานหรืออ้างอิงข้อความของบุคคลอื่นมากเกินไปกระทั่งให้แหล่งข้อมูลเหล่านั้นพูดแทนตัวผู้เขียนเอง และการคัดลอกคำหรือความคิดจากแหล่งข้อมูลซึ่งคิดสัดส่วนเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของผลงานไม่ว่าจะอ้างอิงหรือไม่ก็ตาม อ้างอิง: plagiarismdotORG.  “What…

Continue Readingการคัดลอกวรรณกรรม คืออะไร

Tourism Situation in COVID-19

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลกนับตั้งเเต่เดือนมกราคม ปี 2020 ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศต้องบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมไม่ให้โรคแพร่กระจายเเละลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ มาตรการเหล่านี้เองนอกจากควบคุมเชื้อโรคเเล้ว ยังส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะงักเนื่องจากประชาชนไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ สร้างผลกระทบเป็นวงกว้างรวมถึงการท่องเที่ยวทุกตลาด ไม่ว่าจะเป็น inbound (ชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวเมืองไทย) outbound (ชาวไทยเดินทางออกไปต่างประเทศ) เเละการท่องเที่ยวภายในประเทศ การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งในภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญยิ่งของประเทศเเต่ก็มีความเปราะบางต่อสถานการณ์ต่าง ๆ  เเม้ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่สถานการณ์การระบาดในไทยเเละหลายประเทศยังไม่รุนเเรง อีกทั้งขณะนั้นรัฐบาลไทยเองยังไม่ได้ประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงยังไม่ปิดสถานที่ต่าง ๆ เเละห้ามการเดินทางเข้าประเทศหรือข้ามจังหวัด ผลกระทบต่อการท่องเที่ยวก็เริ่มปรากฎให้เห็นเเล้วเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติลดจำนวนลงเนื่องจากสถานการณ์ระบาดที่เกิดขึ้นในประเทศต้นทางรวมถึงมาตรการควบคุมต่าง ๆ ที่รัฐบาลของประเทศนั้นๆ บังคับใช้ เเละด้วยเหตุนี้เอง…

Continue ReadingTourism Situation in COVID-19