หน้าที่ในการจัดการการเงิน (Financial Management)

  • Post author:
  • Post category:Uncategorized

หน้าที่พื้นฐานทั่วไปในการจัดการการเงินสามารถแบ่งเป็น 5 หน้าที่ใหญ่ๆ ได้แก่ 1. การวิเคราะห์และการวางแผนทางการเงิน (Financial Analysis and Planning) ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องมีการวางแผนทางการเงิน หน้าที่นี้ถือว่าสำคัญมาก โดยในการวางแผนทางการเงินนั้น จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ทราบกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเอาไว้เป็นการล่วงหน้าก่อน ว่ามีความต้องการเงินทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของกิจการอย่างไร รวมถึงการลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและไม่หมุนเวียนที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนเหตุการณ์ทางด้านเศรษฐกิจและภาวะแวดล้อมต่างๆ  ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การ ในการวางแผนมักจัดทำงบประมาณโดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีตและข้อมูลคาดการณ์ในอนาคตเพื่อที่จะได้พยากรณ์ตัวเลขงบประมาณได้ล่วงหน้า ทั้งนี้การวิเคราะห์และวางแผนเกี่ยวกับการจัดการการเงินควรที่จะต้องเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของธุรกิจด้วย รวมทั้งประสานงานกับส่วนงานอื่นๆ เพื่อให้การทำงานมีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน 2. การตัดสินใจลงทุน (Investment Decision) ในการดำเนินธุรกิจ กิจการจะต้องมีการลงทุนในสินทรัพย์ เช่น สร้างโรงงาน…

Continue Readingหน้าที่ในการจัดการการเงิน (Financial Management)

การลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์

            การลงทุนในหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่งจำนวนมาก ทำให้ผู้ลงทุนจะรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์นั้นมาก เปรียบเสมือนกับการนำไข่ไก่ทั้งหมดที่มีเก็บไว้ในตะกร้าใบเดียวกัน หากตะกร้าใบนั้นพลัดตกลงมา ไข่ทั้งหมดในตะกร้ามีโอกาสแตกเสียหาย อย่างไรก็ตามหากนำไข่กระจายไปเก็บไว้ตะกร้าหลายใบ โอกาสที่ตะกร้าจะพลัดตกลงมาหลายใบพร้อมกันมีน้อยมาก การพลัดตกของตะกร้าใบใด จะมีความเสียหายเฉพาะไข่ที่อยู่ในตะกร้าที่พลัดตกเท่านั้น ส่วนไข่ในตะกร้าใบอื่นที่ไม่ได้พลัดตกลงมายังคงปลอดภัย ดังนั้นการลงทุนในหลักทรัพย์ก็เช่นกัน หากลงทุนในหลักทรัพย์ของกิจการใด หรืออุตสาหกรรมใดเพียงอุตสาหกรรมเดียวจำนวนมาก เมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดกับบริษัทที่ลงทุน หรือเกิดปัญหาวิกฤตในอุตสาหกรรมที่ลงทุนอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนจำนวนมาก การกระจายการลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัทหลายแห่งรวมถึงในหลักทรัพย์ของกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมแต่ต่างกัน ก็จะสามารถช่วยกระจายความเสี่ยงรวมจากการลงทุนได้             การลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ (Portfolio investment) จะช่วยลดความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบลงได้ เช่น ความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของระบบการผลิตโดยไม่ทราบสาเหตุของบริษัทหนึ่งที่ลงทุน แต่บริษัทอื่นที่ลงทุนไม่มีปัญหาเช่นนี้ การกระจายการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ที่ลงทุนในหลักทรัพย์หลายบริษัทจึงช่วยลดปัญหานี้ได้ หรือในกรณีที่เลือกลงทุนในหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจขนส่งเป็นจำนวนมาก หากราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ต้นทุนในการขนส่งเพิ่มขึ้นอย่างมากอาจส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจขนส่งลดลงอย่างมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม…

Continue Readingการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์

ความเสี่ยงที่เป็นระบบกับความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ

            ความเสี่ยงจากการลงทุน จะจำแนกตามหลักการวิเคราะห์หลักทรัพย์ได้เป็น 2 ประเภท คือความเสี่ยงที่เป็นระบบ กับความเสี่ยงที่ไม่เป้นระบบ             ความเสี่ยงที่เป็นระบบ (Systematic risk) เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นและส่งผลต่อหลักทรัพย์ลงทุนทั้งหมดในตลาด แต่ละหลักทรัพย์จะได้รับผลจากความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของหลักทรัพย์นั้นกับตลาดโดยรวมว่ามีมากน้อยเพียงใด ตัวอย่างความเสี่ยงที่เป็นระบบ เช่น ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากสถานการณ์เศรษฐกิจตกต่ำ ความเสี่ยงจากโรคระบาด เป็นต้น             ความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ (Unsystematic risk) เป็นความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละหลักทรัพย์ที่แตกต่างจากหลักทรัพย์อื่น เช่น บริษัทที่มีสหภาพแรงงานเข้มแข็งและสหภาพมักนัดหยุดงานประท้วงขอขึ้นค่าจ้างบ่อยครั้ง ทำให้การดำเนินงานของบริษัทประสบปัญหาบ่อยครั้ง ส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่มั่นใจที่จะลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท การลงทุนในหลักทรัพย์ของบริษัท…

Continue Readingความเสี่ยงที่เป็นระบบกับความเสี่ยงที่ไม่เป็นระบบ