การจัดการคลังสินค้า ตอนที่ 1

ความหมาย บทบาทหน้าที่ และความสำคัญของการจัดการคลังสินค้า การจัดการคลังสินค้าในอดีตนั้น มักมองเห็นว่า คลังสินค้าเป็นเพียงพื้นที่ที่ใช้เก็บสินค้าเท่านั้น จึงไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ทุกองค์การต่างเห็นว่า การจัดการคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยลดต้นทุนและเพิ่มกำไรให้กับองค์การได้ เนื่องจากในปี 2561 ต้นทุนการจัดการคลังสินค้าคิดเป็นร้อยละ 7.28 ของต้นทุนการบริหารด้านการจัดการโลจิสติกส์ (คณะทำงานพัฒนาข้อมูลโลจิสติกส์ สศช, 2562) ดังนั้นการทำให้การจัดการคลังสินค้าใช้เงินให้น้อยที่สุดจึงถือเป็นการลดต้นทุนการบริหารด้านการจัดการโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานไปด้วยนั่นเอง ความหมายของการจัดการคลังสินค้า           คลังสินค้าเป็นสถานที่จัดมีไว้เพื่อกิจการคลังสินค้า โดยมีลักษณะเป็นอาคารที่มีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรง มีหลังคา และฝาผนังที่สมบูรณ์ทั้งด้านข้างและด้านหัวท้ายของอาคาร ซึ่งพื้นที่ภายในอาคารได้ออกแบบมาเพื่อจุดมุ่งหมายในการเก็บรักษาสินค้าและวัตถุดิบ โดยมีการวางแผนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ หน้าที่ของคลังสินค้าคือเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า สินค้าที่เก็บในคลังสินค้ามี 2…

Continue Readingการจัดการคลังสินค้า ตอนที่ 1

Ethics for Entrepreneurs Part 5

จริยศาสตร์คุณธรรม (Virtue Ethics)             การตัดสินใจตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คุณธรรม” นั้น ผู้ประกอบการจะตัดสินใจโดยตระหนักถึงคุณธรรม ความเข้าใจและการดำเนินชีวิตที่ดี ซึ่งคุณธรรมนั้นเป็นลักษณะนิสัยที่ยอดเยี่ยมและคงทน เป็นการกระทำที่ผ่านการไตร่ตรอง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการนั้นได้รับการยอมรับและเป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่นได้ ตัวอย่างคุณธรรมที่อริสโตเติลได้กล่าวไว้ เช่น ความกล้าหาญ ความเมตตากรุณา ความเอื้ออาทร และความยับยั้งชั่งใจ  อย่างไรก็ตามบุคคลแต่ละคนไม่ได้เกิดมาพร้อมคุณธรรม แต่คุณธรรมเป็นสิ่งที่บุคคลสามารถพัฒนาได้จากการฝึกฝน ประสบการณ์ และภูมิปัญญา เพื่อให้เห็นภาพได้ชัด ลองนึกภาพคนที่โดยธรรมชาติแล้วค่อนข้างอารมณ์ร้อน นั่นหมายความว่า เมื่อมีสถานการณ์ใดมากระทบ คนผู้นั้นจะตอบสนองทันทีด้วยความรุนแรง ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ และสุดท้ายคนผู้นั้นต้องมารู้สีกเสียใจในภายหลัง เมื่อคนผู้นั้นพบเจอเหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้บ่อยๆ…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 5

Ethics for Entrepreneurs Part 4

จริยศาสตร์คานต์ (Kantian ethics) (ต่อ) ตามแนวทางจริยธรรม “จริยศาสตร์คานต์” นั้น เป็นไปตามกฎคำสั่งแบบเด็ดขาด (Categorical Imperative: CI) กฎนี้สามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือวิธี CI A และ วิธี CI B ซึ่งวิธี CI A นี้ได้กล่าวไปแล้วใน Ethics for Entrepreneurs Part 3…

Continue ReadingEthics for Entrepreneurs Part 4