แนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization)

 เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและผลการปฏิบัติงานที่ดีแนวคิดองค์กรสุขภาวะจึงให้ความสำคัญกับผลการปฏิบัติงานควบคู่ไปกับความสุขในการทำงานด้วย โดยใช้กระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรที่มีเป้าหมายและยุทธศาสตร์สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ขององค์กร สถาบันคุณภาพแห่งชาติ ประเทศแคนาดา (National Quality Institute of Canada) กำหนดปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดองค์กรสุขภาวะไว้ 3 มิติ ได้แก่ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน (Occupational health and safety) สุขภาวะบุคคล (Personal health practices) และวัฒนธรรมองค์กร (Organizational culture of the workplace) โดยปัจจัยทั้ง 3…

Continue Readingแนวคิดองค์กรสุขภาวะ (Healthy organization)

ความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

การพัฒนาคุณภาพชีวิตมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้               2.1 ความปรารถนาอันสูงสุดของมนุษย์ คือ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้น แต่ละบุคคลจึงพยายามที่จะพัฒนาตนเองและสังคมไปสู่เป้าหมายที่ปรารถนา ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา การมีอาชีพ มีรายได้ มีคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงการรู้จักบริหารตนเอง ซึ่งหากทุกคนสามารถปฏิบัติได้เช่นนี้ ก็เท่ากับว่าสามารถช่วยยกระดับทั้งของตนเองและของสังคมให้มีคุณค่า มีความเจริญงอกงาม พัฒนาไปสู่สังคมอุดมคติ ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมและลดลงหรือหมดไป เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาอาชญากรรม ปัญหามลภาวะเป็นพิษ เป็นต้น               2.2 ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรง…

Continue Readingความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิต

แผนในการดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

การตระหนักในแผนความปลอดภัย เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ในการพัฒนาให้สถานที่ทำงานมีความปลอดภัยนั้นจะต้องมีการพัฒนาด้านความปลอดภัยที่ดีโดยใช้แผนความปลอดภัย การคำนึงถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยจะต้องเริ่มจากผู้ที่มีตำแหน่งสูงสุดในองค์การ รวมไปถึงหัวหน้างานทุกระดับ มีการสาธิตในเรื่องของการรับรู้ข่างสารเรื่องความปลอดภัย มีหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัย และได้รับรางวัลตอบแทนเมื่อสามารถทำให้ที่ทำงานมีความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วผู้อำนวยการด้านความปลอดภัยและแผนความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของงานทรัพยากรมนุษย์ ผู้รับผิดชอบหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่ออกแบบและดำเนินการแผนความปลอดภัยเพื่อใช้ในการฝึกอบรมหัวหน้างานในเรื่องการปฏิบัติตามกฏและนโยบายความปลอดภัย โดยแนวทางในการกำหนดแผนความปลอดภัยในการทำงานสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้ วิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ ในการวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอุบัติเหตุมีหน้าที่ในการสังเกตุและวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุในการดำเนินงาน เพื่อจัดการดูแลให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมการลดสภาวะที่ไม่ปลอดภัย สามารถดำเนินการได้หลังจากการศึกษาและวิเคราะห์ถึงสาเหตุของอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งจะได้ข้อมูลจำเป็นที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์สมควรที่จะหาแนงทางป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดสภาวะที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าจะป็นการปรับปรุงสภาพการทำงาน การบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณืในการทำงานให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นต้นการลดการกระทำที่ไม่ปลอดภัย นอกจากความพยายามในการลดสภาวะการณ์ที่ไม่ปลอดภัยด้วยวิธีการต่างๆที่ได้กล่าวมาแล้ว การลดการกระทำที่ไม่ปลอดภัยก็นับได้ว่ามีความสำคัญไม่แพ้กัน ทั้งนี้สามารถกระทำได้โดยการอบรมให้ความรู้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในเรื่องความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน การปฏบัติงานที่ถูกต้องตามหลักสุขอนามัย ตลอดจนการเตรีนมพร้อมสำหรับเหตุการร์ที่อาจจะเกิดขึ้นส่งเสริมแนวความคิดด้านการป้องกัน หน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ควรปลูกฝัง สร้างแนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์การ การป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารงานด้านความปลอดภัยของบุคลากร เนื่องจากอุบัติเหตุที่เกิดขี้นในแต่ละครั้งย่อมส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพขององค์การทั้งสิ้น  

Continue Readingแผนในการดูแลความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน