แนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กร (Recourse-based view)

ทั้งนี้ทรัพยากรที่มีคุณค่าองค์การ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ2 ทรัพยากรทุนทางกายภาพ หมายถึง เทคโนโลยีทางกายภาพที่ใช้ในองค์กร โรงงานเครื่องมือ รวมไปถึงสถานที่ตั้งเชิงภูมิศาสตร์ เป็นต้น ทรัพยากรทุนมนุษย์หมายถึงการอบรมลัพะฒนา ประสบการณ์ องค์ความรู้ ที่บุคลากรขององค์กรมี ทรัพยากรทุนองค์การ หมายถึง โครงสร้างองค์การ การวางแผน การประสานงาน ความสัมพันธ์ภายในองค์การและระหว่างองค์การในสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งทุกองค์การต่างแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพบากรณ์ที่มีจำกัดจึงอาจกล่าวได้ว่าภายใต้แนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กรปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันคือการมุ่งเน้นนวัตกรรม โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมยุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้เพราะทรัพยากรมนุษย์นั้นถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สามารถพัฒนาได้และเมื่อได้รับการพัฒนาแล้วนั้นก็จะกลายเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กรและเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการก่อให้เกิดความเป็นองค์กรนวัตกรรมต่อไปดังนั้นทรัพยากรมนุษย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าหรือทรัพยาการเฉพาะประเภททรัพยากรทุนมนุษย์ตามแนวคิด RBV จึงถือว่ามีความสำคัญมากในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดของการได้เปรียบในการแข่งขัน ในบริบทนี้หมายรวมถึงองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทุนมนุษย์องค์กรเพื่อสร้างทรัพยากรเฉพาะที่แข็งแกร่ง ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์กรก็เช่นเดียวกันแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุดคือทรัพยากรทุนมนุษย์ ดังนั้นจึงมองเห็นได้ถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมองค์การผ่านแนวคิดทฤษฏีทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะ

Continue Readingแนวคิดทรัพยากรที่มีคุณค่าเฉพาะขององค์กร (Recourse-based view)

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม

กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์มีอยู่ 6 ขั้นตอนคือ การกำหนดความจำเป็น (Needs Identification) เป็นการคาดหวังหรือรู้ความต้องการขององค์กร การวิเคราะห์ความท้าทายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Challenge Analysis) เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กรโดยรวมและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อหาปัจจัยวิกฤติและปัจจัยแห่งความสำเร็จ การวางแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (Strategic HRD Planning) ประกอบด้วยเป้าหมายวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบายการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การออกแบบกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD Activity Designing) ที่เหมาะสมเพื่อให้ผลการปรับปรุงได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามเป้าหมายที่กำหนด การนำแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปสู่การปฏิบัติ (HRD Complementation) เป็นการนำแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ได้กำหนดไว้ไปปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรม การประเมินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์…

Continue Readingการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์เพื่อสร้างนวัตกรรม

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรมในภาครัฐไทย

ในการขับเคลื่อนนโยบาย “ประเทศไทย 4.0” ที่จะเป็นรูปธรรมและสามารถดำเนินการเพื่อสร้างองค์กรนวัตกรรมในภาครัฐไทย การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ โดยต้องดำเนินการ ดังนี้5บุคลากรในระบบราชการ การผลักดันนโยบายของรัฐบาลต้องใช้บุคลากรและกลไกของระบบราชการทั้งระบบเป็นตัวเร่ง (Catalyst) ให้เกิดการพัฒนาตามแนวทางดังกล่าว โดยข้าราชการสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changeagent) ถึงแม้จะดำเนินการได้ไม่ง่ายนักเนื่องจากบุคคลากรของภาครัฐถูกผูกติดกับระเบียบและแบบแผนซึ่งยากต่อการเปลี่ยนแปลงแต่ด้วยกลไกของรัฐเองจะทำให้ข้าราชการต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้การทำให้ข้าราชการเป็นผู้นไการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการดำเนินการ 4 ด้านไปพร้อม ๆ กัน ดังนี้• การพัฒนาองค์ความรู้ของข้าราชการให้รู้รอบและรู้ลึก และมีการเพิ่มพูนความรู้อย่างต่อเนื่อง• การบ่มเพาะให้ข้าราชการมีธรรมาภิบาล กล้าตัดสินใจกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม• การปรับปรุงกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติราชการจากการทำงานตามกฎเกณฑ์(Rule base) เป็นการสร้างนวัตกรรมที่อำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน (Innovation base)• การปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติราชการใหม่ โดยให้ความสำคัญกับ…

Continue Readingการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างนวัตกรรมในภาครัฐไทย