การพัฒนาเมือง

การพัฒนาเมือง (Urban Development) คือ กระบวนการที่นำเสนอแนวคิดในการออกแบบและจัดระเบียบการใช้ที่ดินในเมือง โดยมีเป้าหมายในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรและสร้างสถานที่อยู่อาศัยและทำงานที่ดีและยั่งยืน การพัฒนาเมืองสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจ, สังคม, และสิ่งแวดล้อมของเมือง ทั้งนี้การพัฒนาเมืองที่ดีควรจะรวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม, การเข้าถึงทรัพยากร, การส่งเสริมความเท่าเทียม, และการส่งเสริมความรวมมือของประชากรในเมือง โดยหลักในการพัฒนาเมืองประกอบด้วย: การใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน (Sustainable Land Use): แนวคิดนี้เน้นการใช้ที่ดินในเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนในการใช้งาน และการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ การขนส่งสาธารณะ: การมีระบบขนส่งสาธารณะที่มีประสิทธิภาพสามารถช่วยลดปัญหาการจราจรและปริมาณคาร์บอนที่ปล่อยออกมาจากการขนส่ง ที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ: การสร้างบ้านเรือนที่มีคุณภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของผู้อยู่อาศัย ส่งเสริมความเขียวของเมือง: การมีพื้นที่สีเขียว เช่น สวนสาธารณะ…

Continue Readingการพัฒนาเมือง

แนวคิดพื้นฐานและหลักการในการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

แนวคิดพื้นฐานและหลักการในการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการปกครองตนเองของท้องถิ่น  ความหมายและลักษณะของการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความเป็นอิสระของท้องถิ่น องค์การในการพัฒนาบุคลากรในการพัฒนา งบประมาณในการพัฒนา การมีส่วนร่วมของประชาชน และความสำคัญของการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้การบริหารการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามนโยบายการเมืองและการบริหารของแต่ละประเทศ แต่มีกระบวนการบริหารการพัฒนาที่คล้ายกัน ประกอบด้วย การกำหนดนโยบายการพัฒนา การจัดทำแผนและโครงการพัฒนา การบริหารโครงการพัฒนา และการควบคุม ตรวจสอบ และประเมินผลการพัฒนา

Continue Readingแนวคิดพื้นฐานและหลักการในการพัฒนาเมืองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ลักษณะขององค์กรนวัตกรรม

ลักษณะขององค์การที่มุ่งเน้นด้านนวัตกรรมจำเป็นที่จะต้องมีองค์ประกอบดังนี้ 1. สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในองค์การทที่สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรคนวัตกรรม เช่น การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของผู้นำ ลักษณะโครงสร้างองค์กรที่เป็นแบบสิ่งมีชีวิต (มีลำดับสายบังคับบัญชาน้อย) การมีทรัพยากรเพียงพอ การสร้างบรรยาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน 2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สอดรับกับกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อขับเคลื่อนไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม โดยอาศัยกระบวนการในการจัดการทรัพยากรมุษย์ เช่น กระบวนการสรรหา/คัดเลือก การฝึกอบรมพัฒนา การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการให้รางวัลเพื่อสร้างแรงจูงใจ 3. การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนของความรู้ในทุกระดับ ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การให้คำมั่นสัญญาในการเรียนรู้การมีวิสัยทัษน์ร่วมกัน การเปิดรับสิ่งใหม่ การแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์การ 4.มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ทั้งในด้าน นวัตกรรมสินค้า นวัตกรรมกระบวนการ และ นวัตกรรมเชิงพฤติกรรม

Continue Readingลักษณะขององค์กรนวัตกรรม