แนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

การจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นแนวทางตามมติคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยมอบหมายใหสำนักงบประมาณและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 1. ประเภทเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป และเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยจะต้องมีสัดส่วนเงินอุดหนุนทั่วไปมากกว่าเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 2. การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภท ให้จัดสรรเงินอุดหนุนเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร กลุ่มที่ 2 เมืองพัทยา และกลุ่มที่ 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล…

Continue Readingแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เหตุผลของการมีเงินอุดหนุน

การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่สำคัญ ได้แก่ การเพิ่มขีดความสามารถให้กับท้องถิ่นในการจัดบริการสาธารณะได้ตามมาตรฐานที่รัฐบาลกำหนดและเพื่อลดช่องว่างระหว่างท้องถิ่นที่มีฐานะทางการคลังที่แตกต่างกัน โดยสามารถดำเนินการตามนโยบายของรัฐหรือแก้ไขปัญหาที่เกินขีดความสามารถด้านการคลังได้  รวมถึงเพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสารถในการพึ่งพาตนเองทางการคลังบนพื้นฐานรายได้ของตนเองได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เหตุผลของการมีเงินอุดหนุน การจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีเหตุผลที่สำคัญ ดังนี้ 1) เงินอุดหนุนทำหน้าที่เพื่อลดช่องว่างฐานะทางการคลังของท้องถิ่น ซึ่งฐานะทางการคลังของแต่ละท้องถิ่นนั้นมีลักษณะแตกต่างกันค่อนข้างมาก เงินอุดหนุนจึงทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างรายจ่ายกับรายได้(fiscal gap)  นอกจากนี้การจัดสรรเงินอุดหนุนยังเป็นกลไกที่สำคัญเพื่อส่งเสริมความเสมอภาค (equalization) ของแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย  ทั้งนี้เพราะความสามารถจากการจัดเก็บรายได้และการคลังของท้องถิ่นแต่ละแห่งไม่เท่าเทียมกัน (Robin Boadway,2007) สำหรับในประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 ประเภท ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล หากพิจารณาตัวเลขรายได้เงินอุดหนุนของท้องถิ่นแต่ละประเภทจะพบว่ามีฐานะทางการเงินการคลังที่แตกต่างกัน การจัดสรรเงินอุดหนุนจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น…

Continue Readingเหตุผลของการมีเงินอุดหนุน

สถาบันและตัวแสดง (Actor) ต่างๆที่สำคัญในการควบคุมระบบราชการ

นักวิชาการคนสำคัญ อองรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) ได้อธิบายว่า การควบคุม(Control คือการตรวจสอบดูว่าทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินการไปได้สอดคล้องเป็นไปตามแผน (Plan) คำสั่งและหลักการที่ได้จัดทำไว้หรือไม่ วัตถุประสงค์ของการควบคุมก็เพื่อเป็นการค้นหาจุดอ่อนและข้อบกพร่องเพื่อนำไปแก้ไขและป้องกันมิให้ผลงานที่เกิดขึ้นคลาดเคลื่อนไปจากวัตถุประสงค์ หน้าที่ของการควบคุมนั้นเกี่ยวข้องกับทุก ๆ สิ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคนหรือเรื่องของงาน สำหรับบริบทของการบริหารราชการไทย อาจกล่าวได้ว่า แผน (Plan) คำสั่งและหลักการที่ได้จัดทำไว้ของระบบราชการมีที่มาและมีความสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์ชาติชาติ 20 ปี (2561-2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนปฏิปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รวมถึงนโยบายของรัฐบาล การดำเนินงานการควบคุมจึงมีขอบข่ายที่กว้าง ทั้งในระบบประเทศ ส่วนราชการระดับกระทรวง กลุ่มจังหวัดจังหวัด…

Continue Readingสถาบันและตัวแสดง (Actor) ต่างๆที่สำคัญในการควบคุมระบบราชการ