แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย

แนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย           แนวคิดและหลักการทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทยมี 5 แนวคิด (จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์,2564) ที่สำคัญดังนี้ คือ           1 แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์แนวดั้งเดิมหรือแนวเก่ากับการบริหารราชการไทย           แนวคิดรัฐประศาสนศาสตร์แนวดั้งเดิมหรือแนวเก่า (Old Public Administration: OPA) เป็นแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการบริหารงานภาครัฐ ตั้งแต่ ค.ศ.1887-1968 ซึ่งเป็นยุคหรือช่วงเวลาที่ให้ความสำคัญกับค่านิยมทางการบริหารตามหลัก 3E’s คือ ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิผล (Effectiveness) และประหยัด…

Continue Readingแนวคิดทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่ส่งผลต่อการบริหารราชการไทย

คำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

นโยบายการบริหารของรัฐบาลหรือแนวทางที่รัฐบาลจะใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินนั้น  โดยปกติรัฐบาลจะนำข้อเรียกร้องหรือผลประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนต้องการมาจัดทำเป็นนโยบายพรรคการเมืองของตน และเมื่อชนะการเลือกตั้ง ฝ่ายรัฐบาลหรือในนามคณะรัฐมนตรีที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินจะต้องนำนโยบายของรัฐบาลในชุดนั้นๆ แถลงต่อรัฐสภา ดังนั้นการแถลงนโยบายจึงหมายถึงการแจ้งหรือรายงานให้สมาชิกสภาทราบว่ารัฐบาลมีแนวทางหรือทิศทางการบริหารราชการในลักษณะอย่างไร ในทางการเมืองถือว่าการแถลงนโยบายเป็นเหมือนสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชน โดยอาศัยรัฐสภาเป็นประจักษ์พยานซึ่งเมื่อทำการแถลงนโยบายไว้แล้ว รัฐบาลจะมีความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินและได้รับการรับรองตามกฎหมายและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สำหรับนโยบายของรัฐบาลไทยในระบอบประชาธิปไตย มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 28 มิถุนายน พ.ศ.2475 ในสมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ในครั้งนั้นรัฐบาลมีแนวนโยบายในชื่อของ “หลัก 6 ประการ” อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีชุดแรกนี้ไม่ได้ทำการแถลงต่อรัฐสภาอย่างเป็นทางการ นโยบายของรัฐบาลชุดแรกตามหลัก 6 ประการ มีสาระสำคัญดังนี้ 1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล…

Continue Readingคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภา

แนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ  มีลักษณะเป็นแนวนโยบายหลักของรัฐ (State Policy) ซึ่งมีลักษณะเป็นนโยบายกลางของประเทศและไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง (Government Policy) ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐจะให้ความสำคัญกับนโยบายในด้านใหญ่ๆของประเทศ อาทิ ด้านการทหาร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการต่างประเทศ ในฐานะเป้าหมายหลักของประเทศที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกับนโยบายของพรรคการเมืองหรือรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งและจะมีความแตกต่างไปในแต่ละรัฐบาล ซึ่งนโยบายของรัฐบาลจะไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแต่คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงต่อรัฐสภาและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแทน แนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นแนวทางในการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลทุกรัฐบาลต้องยึดถือและบริหารราชการให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว โดยแนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้น มีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน           แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหรือแนวนโยบายแห่งรัฐของไทย จุดเริ่มต้นของ “แนวนโยบายแห่งรัฐ” ปรากฏครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492…

Continue Readingแนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ