ปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย

ปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย ในภาพรวมโครงสร้างรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยมีการพึ่งพิงรัฐบาลกลางในการจัดเก็บและการจัดสรรเงินในระดับที่สูง แม้จะมีประเภทภาษีชนิดต่างๆแต่ก็ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่เพียงพอ จากการวิเคราะห์พบลักษณะที่ก่อให้เกิดปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย ดังนี้ 1. ข้อจำกัดในการดำเนินงานและอำนาจทางภาษีอากร ที่ผ่านมานโยบายการกระจายอำนาจทางการคลังจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2540และรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 และพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ปีพ.ศ.2542 มีความชัดเจน แต่ในส่วนของการนำไปปฏิบัติยังคงอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง เช่นเดียวกับ การดำเนินการภายหลังจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2560 ที่การบริหารราชการและการใช้กลไกของรัฐในทางปฏิบัติในการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่ท้องถิ่นยังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของนโยบายการกระจายอำนาจในอดีต กล่าวคือมีการดำเนินการและระบบการจัดการที่ส่วนกลางและให้อำนาจกับกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการการกระจายอำนาจเป็นหลัก โดยมีหน่วยงานที่ทำการตัดสินใจหลัก 4 หน่วยงานได้แก่ 1) สำนักงบประมาณ 2) กระทรวงการคลัง 3) สศช.…

Continue Readingปัญหารายได้ของท้องถิ่นไทย

แนวทางการพัฒนาและการบริหารเงินอุดหนุน

แนวทางการพัฒนาและการบริหารเงินอุดหนุนควรยึดหลักความเป็นธรรม ความสอดคลองกับรายได้และสัดส่วนเงินอุดหนุนควรอยู่ในระดับต่ำ สำหรับการจัดสรรเงินอุดหนุนควรยึดหลักความเป็นธรรม โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสภาพและฐานะทางเศรษฐกิจเท่ากันควรได้รับเงินอุดหนุนเท่ากัน นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีรายได้น้อย ควรได้รับเงินอุดหนุนมากขึ้น เพื่อเป็นการปรับระดับรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้นการบริหารเงินอุดหนุนควรสอดคล้องกับภาพรวมรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสัดส่วนของเงินอุดหนุนต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะอยู่ในระดับต่ำ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ท้องถิ่นพึ่งพารายได้ของท้องถิ่นเอง นอกจากนี้การจัดสรรเงินอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละประเภท ควรมีการระบุวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน นอกจากนี้ การบริหารเงินอุดหนุนทั่วไปควรจะมีสูตรในการคำนวณที่ไม่ซับซ้อนและควรบริหารเงินอุดหนุนด้วยความโปร่งใส การบริหารเงินอุดหนุนทั่วไปควรจะมีสูตรในการคำนวณที่ไม่ซับซ้อน (ที่ผ่านมาสูตรในการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไปค่อนข้างที่จะซับซ้อนและยุ่งยาก)     ดังนั้นจึงควรมีการจัดสรรด้วยความชัดเจน โดยสูตรในการจัดสรรเงินอุดหนุนทั่วไป ควรคำนึงถึงด้านรายได้และรายจ่ายตามภารกิจที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งจะเป็นการสะท้อนถึงช่องว่างทางการคลังได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการประเมินและปรับปรุงสูตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่เสมอ นอกจากนั้นข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณควรจะมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และไม่ล่าช้า   นอกจากนี้ควรเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเพื่อให้ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ สามารถทำการตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย   โดยเฉพาะการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้กับท้องถิ่น ควรมีระบบการจัดการที่โปร่งใส และมีมาตรฐาน การแก้ไขปัญหาเงินอุดหนุนเฉพาะกิจในระยะยาว…

Continue Readingแนวทางการพัฒนาและการบริหารเงินอุดหนุน

ปัญหาเงินอุดหนุนและการจัดสรรเงินอุดหนุนของไทย

1.ปัญหาการพึ่งพิงเงินอุดหนุนและสัดส่วนของเงินอุดหนุนที่สูงของไทย  เงินอุดหนุนมีปริมาณที่สูงโดยมีปริมาณสูงกว่าร้อยละ 41.23 ของรายได้ท้องถิ่นทั้งหมด (ข้อมูลในปี 2564 ตามตารางที่ 1 ) ซึ่งขัดต่อหลักการพึ่งพาตนเองทางการคลัง ทำให้องค์กรปกครองท้องถิ่นขาดความกระตือรือร้นในการหารายได้ด้วยตนเองและรอคอยการช่วยเหลือจากส่วนกลางพึ่งพิงและสนองตอบต่อความต้องการของนักการเมืองระดับชาติมากกว่าประชาชน วัตถุประสงค์ที่แท้จริงในการกำหนดให้มีเงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นนั้นเพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ แต่ที่ผ่านมาการใช้เงินอุดหนุนเป็นไปในทิศทางที่ไม่เหมาะสม ขาดหลักการและความคงเส้นคงวา และเป็นไปตามความต้องการของนักการเมืองระดับชาติซึ่งในความเป็นจริงแล้วสัดส่วนของเงินอุดหนุนต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักการแล้วควรจะอยู่ในระดับที่ต่ำเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ท้องถิ่นพึ่งพารายได้ของตนเองเป็นหลัก ตารางที่ 1 แสดงสัดส่วนร้อยละของรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ปีงบประมาณ 2559-2564 ปีงบประมาณรายได้ที่อปท.จัดหาเอง (ร้อยละ)รายได้ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้ (ร้อยละ)ภาษีมูลค่าเพิ่มที่รัฐบาลแบ่งให้ (ตามพรบ.กำหนดแผนฯ) (ร้อยละ)เงินอุดหนุน (ร้อยละ)รวม (ร้อยละ)255910.6733.3616.6139.36100.00256016.2831.8116.1435.77100.00256115.5431.8915.9536.61100.00256214.9031.9816.3736.74100.00256314.4331.0916.3038.19100.00256411.5831.9815.2141.24100.00 ที่มา : ปรับจากสำนักนโยบายการคลัง…

Continue Readingปัญหาเงินอุดหนุนและการจัดสรรเงินอุดหนุนของไทย