การแบ่งส่วนราชการภายในกรม

          สำหรับการแบ่งส่วนราชการภายในกรมนั้น ในกรณีที่เป็นกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม หากประสงค์จะแบ่งส่วนราชการก็ต้องดำเนินการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงออกเป็นกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเพื่อกำหนดให้มีส่วนราชการภายในของกรมนั้น ซึ่งส่วนราชการภายในที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการจะต้องมีฐานะเป็นกองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง และในกรณีที่กรมใดมีความจำเป็นจะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจากสำนักงานเลขานุการกรมหรือกองก็ได้ กล่าวคือ อาจกำหนดให้มีส่วนราชการที่มีฐานะสูงกว่ากอง เช่น สำนัก สถาบัน ศูนย์ เป็นต้น           กรมซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง อาจแบ่งส่วนราชการดังนี้            (1) สำนักงานเลขานุการกรม            (2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้           กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ…

Continue Readingการแบ่งส่วนราชการภายในกรม

หลักการแบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง

          สำหรับการจัดหน่วยงานหรือแบ่งส่วนราชการภายในกระทรวงนั้น ๆ  นอกจากพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 จะได้กำหนดให้การจัดระเบียบราชการในกระทรวงหนึ่ง ๆ ว่าจะประกอบด้วยส่วนราชการระดับกรม หรือสำนักงานใดบ้างให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมกำหนดไว้ แต่ทว่าจะมีราชการบริหารส่วนกลางบางกระทรวงมีกฎหมายที่ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในของกระทรวงนั้น ๆ เป็นการเฉพาะอยู่แล้ว เช่น การจัดระเบียบราชการ กระทรวงกลาโหม กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรมฯ กำหนดให้เป็นไปตามกฎหมาย ข้อ บังคับ และระเบียบแบบแผนว่าด้วยการจัดระเบียบริหารราชการของกระทรวงกลาโหม และในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการเองก็ได้มีแบ่งส่วนราชการภายในกระทรวงตามการจัดระเบียบราชการกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น            สำหรับการแบ่งส่วนราชการระดับกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีฐานะเป็นกรม…

Continue Readingหลักการแบ่งส่วนราชการภายในกระทรวง

แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดองค์การและการจัดองค์การภาครัฐ

กระบวนการจัดองค์การ           สำหรับการจัดองค์การมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการอย่างเป็นกระบวนการตามลำดับก่อนหลังใน 7 ขั้นตอนดังนี้           1. การกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) เป็นการกำหนดภาพขององค์การที่พึงปรารถนาในอนาคต โดยผู้จัดการจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ ซึ่งถือเป็นการวางแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานขององค์การในอนาคตด้วย ในส่วนของการกำหนดวิสัยทัศน์นี้จะครอบคลุมถึงการกำหนดวัตถุประสงค์ ตลอดจนนโยบายและแผนขององค์การไว้ด้วย           2. การกำหนดพันธกิจ (Mission) จะเป็นการกำหนดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบขององค์การเพื่อให้ทราบว่าองค์การควรดำเนินการในเรื่องใด และไม่ควรดำเนินการในเรื่องใดเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาขององค์การ ซึ่งในส่วนของพันธกิจต่าง ๆ ขององค์การ โดยทั่วไปแล้วจะมีการกำหนดไว้ในกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องกับองค์การนั้น ๆ                   3. การจัดกลุ่มพันธกิจ…

Continue Readingแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดองค์การและการจัดองค์การภาครัฐ