ความหมายของนโยบายการบริหารราชการไทย

มีคำที่สำคัญสองคำคือคำว่า “นโยบาย” (Policy) กับ คำว่า “การบริหารราชการไทย” (Thai Public Administration)           คำว่า “นโยบาย” (Policy) ส่วนมากในแวดวงวิชาการในทางรัฐประศาสนศาสตร์จะพบในรูปของคำว่า นโยบายสาธารณะ (Public Policy) ซึ่งนักวิชาการหลายท่านอย่าง อีสตัน (Easton,1953) ชาร์เคนสกี (Sharkansky,1970) และรวมถึง ฮอกวูดและกันท์ (Hogwood and Gunn,1984) ได้ให้ความหมายซึ่งสามารถสรุปความไปในทางเดียวกันได้ว่า นโยบายสาธารณะ เป็นสิ่งที่รัฐบาลตัดสินใจเลือกที่จะกระทำ…

Continue Readingความหมายของนโยบายการบริหารราชการไทย

Strategic Leadership of the Mayor of Yala City Municipality

จากการศึกษาของดาวนภา  เพชรจันทร์และ จิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน์ พบว่านายกเทศมนตรีนครยะลา   (นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ) มีลักษณะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่โดดเด่น 8 ประการ ดังนี้               1) เป็นผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกล นายกเทศมนตรีเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ในการบริหารจัดการเมืองยะลา โดยบริหารจัดการในรูปแบบองค์รวมครอบคลุมพื้นที่ทั้งจังหวัดยะลา มิใช่มองแค่พื้นที่ของเทศบาลนครยะลา เป็นผู้มองอนาคตของจังหวัดยะลาในระยะยาว มีความสามารถในการพัฒนาต่อยอดโครงการและผลงานต่าง ๆ จนทำให้เทศบาลนครยะลามีชื่อเสียงได้รับการยอมรับจากประชาชน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ โดยได้รับรางวัลการันตีมากมายที่เป็นผลงานประจักษ์               2) เป็นผู้บริหารที่เป็นต้นแบบให้กับบุคลากร นายกเทศมนตรีนครยะลาเป็นผู้มีความสามารถพิเศษ ในการจูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตาม…

Continue ReadingStrategic Leadership of the Mayor of Yala City Municipality

Nature of public participation

ลักษณะการมีส่วนร่วมของประชาชน มี 7 รูปแบบดังนี้ 1.  การออกเสียงประชามติ (Referendum) เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อตัดสินใจในปัญหาสำคัญๆ ที่ได้กระทำหรือคาดว่าจะกระทำ โดยให้ประชาชนเป็นผู้ชี้ขาดว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธในเรื่องนั้นๆ ซึ่งเป็นการมอบอำนาจการตัดสินใจคืนให้กับประชาชนในการกำหนดทางเลือกเองว่าต้องการทางเลือกใดที่ตนและชุมชนจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการตัดสินใจ 2. การประชาพิจารณ์ (Public hearing) เป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นทางการเพื่อประกอบการพิจารณาในการตัดสินใจการดำเนินการทางนโยบาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่จะมีผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนหรือประชาชนจำนวนมาก   ลักษณะการประชาพิจารณ์จะต้องมีการจัดประชุมอย่างเป็นระบบและมีการจดบันทึกและสรุปข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆไว้อย่างเป็นทางการ 3.   เวทีสาธารณะ (public meeting)  เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ประชาชน องค์กรชุมชน ภาคประชาสังคมต่างๆ มาพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูล และความคิดเห็นร่วมกัน ตลอดจนการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกัน ผลจากเวทีสาธารณะอาจก่อให้เกิดสภาพผูกพันหรือข้อตกลงร่วมหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการจัดเวทีสาธารณะ …

Continue ReadingNature of public participation