แนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

แนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ  มีลักษณะเป็นแนวนโยบายหลักของรัฐ (State Policy) ซึ่งมีลักษณะเป็นนโยบายกลางของประเทศและไม่ใช่นโยบายของรัฐบาลใดรัฐบาลหนึ่ง (Government Policy) ซึ่งแนวนโยบายแห่งรัฐจะให้ความสำคัญกับนโยบายในด้านใหญ่ๆของประเทศ อาทิ ด้านการทหาร เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และการต่างประเทศ ในฐานะเป้าหมายหลักของประเทศที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกับนโยบายของพรรคการเมืองหรือรัฐบาลชุดใดชุดหนึ่งที่ชนะการเลือกตั้งและจะมีความแตกต่างไปในแต่ละรัฐบาล ซึ่งนโยบายของรัฐบาลจะไม่ปรากฏในรัฐธรรมนูญแต่คณะรัฐมนตรีจะต้องแถลงต่อรัฐสภาและนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาแทน แนวนโยบายแห่งรัฐ เป็นแนวทางในการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลทุกรัฐบาลต้องยึดถือและบริหารราชการให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าว โดยแนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐนั้น มีลักษณะเป็นบทบัญญัติที่กำหนดไว้ ในรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการตรากฎหมายและการกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน           แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐหรือแนวนโยบายแห่งรัฐของไทย จุดเริ่มต้นของ “แนวนโยบายแห่งรัฐ” ปรากฏครั้งแรกในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492…

Continue Readingแนวนโยบายแห่งรัฐหรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ

ความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย

ความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญในด้านต่างๆ สามารถอธิบายได้ 8 ประการดังนี้           ประการแรก  เป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศในแต่ละช่วงและแต่ยุคสมัยภายใต้สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและภาวะการณ์ต่างๆที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานของรัฐมีหลักค้ำประกัน มีความชอบธรรมเนื่องจากได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมาย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญในหมวด แนวนโยบายแห่งรัฐ การตรากฎหมายจะนำไปสู่การบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้การบริหารราชการไทยได้รับการยอมรับและสามารถดำเนินการได้เป็นไปตามกรอบที่รัฐธรรมนูญได้วางแนวทางไว้ ประการที่สอง  นโยบายการบริหารราชการไทยมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน  ซึ่งหากคำแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลมีสาระสำคัญที่ตรงต่อความต้องการของประชาชน มีการนำไปปฏิบัติโดยระบบราชการไทยโดยไม่บิดเบือดและประชาชนได้รับผลจากนโยบายอย่างเต็มที่แล้ว จึงนับได้ว่าส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศอย่างรอบด้าน ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง การต่างประเทศ และรวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างรอบด้าน          ประการที่สาม  …

Continue Readingความสำคัญของนโยบายการบริหารราชการไทย

ประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย

          นโยบายในการบริหารราชการไทย สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท           1. นโยบายในการบริหารราชการไทยในฐานะแนวนโยบายแห่งรัฐ หรือแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งได้กำหนดสาระสำคัญไว้ใน หมวดที่ 6 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560ในมาตรา 64-78 ซึ่งเป็นแนวทางให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ และครอบคลุมแนวนโยบายด้านต่างๆ อาทิ ด้านยุทธศาสตร์ ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านการต่างประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการศาสนาและสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข  รวมถึงด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศิลปวิทยาการ เป็นต้น…

Continue Readingประเภทของนโยบายในการบริหารราชการไทย