การผลิตเนย เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่เก็บจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่างๆ อย่างไรก็ดี ตามมาตรา 81 แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้การประกอบกิจการบางชนิดได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การขายสัตว์ไม่ว่าจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อ ส่วนต่างๆ ของสัตว์ ไข่ น้ำนม และวัตถุพลอยได้จากสัตว์ ที่อยู่ในสภาพสด หรือรักษาสภาพไว้เพื่อมิให้เสียเป็นการชั่วคราว แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารบรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ทำเป็นอุตสาหกรรม ในทางปฏิบัติ มีประเด็นที่ขอหารือดังนี้ ผลิตภัณฑ์เนยที่สหกรณ์ผลิตมาจากน้ำนมวัวดิบ แยกครีม ผ่านอุณหภูมิ นำเข้าเครื่องปั่นเนยโดยใช้ครีม (38 - 40%) 120…

Continue Readingการผลิตเนย เสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่?

เงินได้ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระหรือไม่?

เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร คือเงินได้อันเข้าลักษณะพึงต้องเสียภาษี ประมวลรัษฎากรได้กำหนดเงินได้พึงประเมินไว้ 8 ประเภท ทั้งนี้เงินได้แต่ละประเภทจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่ายมากน้อยแตกต่างกันตามแต่ละประเภทของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี ประณีตศิลปกรรมหรือวิชาชีพอิสระอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ทั้งนี้การหักค่าใช้จ่าย ผู้มีเงินได้เลือกหักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร หรือจะหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาก็ได้ โดยการประกอบโรคศิลปะ หักเหมาได้ร้อยละ 60 ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นหักเหมาได้ร้อยละ 30 ในทางปฏิบัติ มีประเด็นที่ขอหารือดังนี้เงินได้ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม นอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ตามมาตรา 40 (6)…

Continue Readingเงินได้ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระหรือไม่?

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีส่วนราชการจ่ายเงิน

มาตรา 50 (4) ในกรณีผู้จ่ายเงินเป็นรัฐบาล องค์การของรัฐบาล เทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ซึ่งจ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) (6) (7) หรือ (8) แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าซื้อพืชผลทางการเกษตรให้กับผู้รับรายหนึ่ง ๆ มีจำนวนรวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 10,000 บาทขึ้นไป แม้การจ่ายนั้นจะได้แบ่งจ่ายครั้งหนึ่ง ๆ ไม่ถึง 10,000 บาทก็ดี ให้คำนวณหักในอัตราร้อยละ 1 ของยอดเงินได้พึงประเมินแต่เฉพาะเงินได้ในการประกวดหรือแข่งขันให้คำนวณหักตามอัตราภาษีเงินได้ ในทางปฏิบัติ มีประเด็นที่ขอหารือดังนี้ส่วนราชการจ่ายค่าถ่ายเอกสารให้แก่ร้านค้าหรือบุคคลธรรมดาเป็นรายครั้งตามใบสั่งจ้างที่ได้จ้างในแต่ละครั้ง มิได้รวมจ่ายครั้งเดียวภายในเดือน…

Continue Readingการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายกรณีส่วนราชการจ่ายเงิน